Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง “การพัฒนาทักษะการเรียนการสอน Coding ฝึกคิด เชิงคำนวณ ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) ด้วยคิวอาร์โค้ดบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

ผู้วิจัย รัชนีย์ สัญจรเลิศ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 31 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่  มีความหลายหลาย ทันสมัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตาม ความต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้   โดยเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลซึ่งเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน สมาชิกของโลกออนไลน์ คือ ทุกคนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโลกใบนี้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัลจึงต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น มีส่วนร่วม และมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ เพื่อนำเข้าสู่ระบบการสอนห้องเรียนออนไลน์ในประเด็นองค์ประกอบ รูปแบบ และการประยุกต์ใช้การ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สอน และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ต่อไป       

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ “การพัฒนาทักษะการเรียนการสอน Coding ฝึกคิด เชิงคำนวณ ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) ด้วยคิวอาร์โค้ดบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยใช้สื่อประกอบการฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว   เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.1.1 วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาและวัดประสิทธิภาพของระบบการเรียนการสอนบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนผ่านแหล่งการเรียนรู้แบบสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนกลับด้าน

2. เพื่อสร้างเครื่องมือในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ผ่านบทเรียนการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

2.1.2 เป้าหมายในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

1.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ด้วยการเรียนการสอนบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความฉลาดทางดิจิทัล ในการใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ