Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้วิจัย นางสาวสวิชญา จารุการ

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 1 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้น การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียน น้ำขุ่นวิทยาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ 3.1) เพื่อประเมินความสามารถของครูด้านการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังการทดลองใช้รูปแบบ 3.2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียน หลังการดำเนินงานตามรูปแบบพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 3.3) เพื่อศึกษาสมถรรถนะด้านการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ครูโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยาตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 63 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสังเกตการสอน แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนในการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์หลังการสอน แบบทดสอบก่อนและหลัง การประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสมถรรถนะด้าน การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ (t-test Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้าน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่น วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันความต้องการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.48 ) ส่วนความต้องการในการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52) X X

2. ผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สรุป ดังนี้ 1. ) หลักการ เป็นรูปแบบการพัฒนาครู ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญโดย ความร่วมมือในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสะท้อนผลการ ปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์สะท้อนผล การปฏิบัติงานและผลที่ได้รับเพื่อการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาของครูในโรงเรียน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ 1) พัฒนาครูด้านการจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการ 2) เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อการต่อยอดภูมิ ปัญญาท้องถิ่น 3) กระบวนการ รอบที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ 1) ฝึกปฏิบัติเขียนแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณา การโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) การเทศภายใน โดยผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 3) ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงาน เป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ประเมินผลรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ6) สะท้อนผลรอบที่ 1 รอบที่ 2 การนิเทศแบบครูพี่เลี้ยง 1) ประเมินผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็น ฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) สรุปการนิเทศแบบครูพี่เลี้ยง และ3) สะท้อนผลรอบที่ 2 4) ปัจจัย สนับสนุน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต แหล่งเรียนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 5) การวัดและ ประเมินผล การเทศภายใน โดยผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และการ นิเทศแบบครูพี่เลี้ยง โดยใช้เครื่องมือแบบสังเกตการสอน แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ครู 6) การสะท้อนผลการพัฒนา โดยใช้เครื่องมือแบบสังเกตการสอน แบบบันทึกการ นิเทศ แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ครู ค

 3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ 1) ความสามารถของครูด้านการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานมุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความสามารถครูในการคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.64 โดยมีคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 ครูมีการบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ลำดับที่ 2 ครูมีการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเนื้อหาวิชาการ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้เองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และลำดับที่ 3 ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติอย่างสัมพันธ์กันให้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียน หลังการดำเนินงานตามรูปแบบพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังจากเรียนโดยการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคะแนนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ร้อยละ 79.97 ระหว่างเรียนร้อยละ 88.00 คะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ร้อยละ 79.92 เทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 เท่ากับ 83.69 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) สมถรรถนะด้านการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ประเมินภาพรวมห้องจากครูผู้สอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม แยกตามสมถรรถนะ ดังนี้ 1) สมถรรถนะความสามารถในการคิดภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม 2) สมถรรถนะความสามารถในการแก้ปัญหา ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม และ 3) สมถรรถนะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

4. ผลศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ครูที่มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก คะแนนเฉลี่ย 3.96 โดยมีคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นการได้ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ลำดับที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดทำขึ้นทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง หาคำตอบได้ด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และลำดับที่ 3 รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นเป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรูปแบบที่ทำให้ครูนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.65