Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL)

ผู้วิจัย กิตติภัฎ ฤทธิ์สุวรรณ

ปีการศึกษา 2562

วันที่เผยแพร่ 1 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต กับนักเรียนที่เรียนตามปกติ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 77 คน ได้มาโดยวิธีการสุjมแบบแบjงกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับแผนการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดกิจกรรม  การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิตของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 95.61/86.65 เป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ 5) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65