Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย นางสาวปภัสสร ศิริสวัสดิ์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 2 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                   การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้            แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                    มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก   โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผล การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียน เก่ง อ่อน และปานกลาง คละกันทั้งนักเรียนชายและหญิง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของนักเรียนส่วนใหญ่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา สุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์    จำนวน 15 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน 4) แบบประเมินผลหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชา สุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้            แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยสามารถสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะได้ดังต่อไปนี้

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเน้นการเรียนรู้แบบเชิงรุกและเป็นการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่าและสร้างสรรค์ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถามและถาม อภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงและเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง ได้เกิดคิดหาคำตอบด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้าง        ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “3PKRC MODEL MODEL” มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ                       2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดผลและประเมินผล 5) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 จัดเตรียมความพร้อม (Preparation: P)            ขั้นที่ 2 พิจารณาปัญหา (Problem Identification: P) ขั้นที่ 3 คิดวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis: P) ขั้นที่ 4 เชื่อมโยงความรู้ (Knowledge Integration: K) ขั้นที่ 5 สะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflection: R) และขั้นที่ 6 สรุป (Conclusion: C) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนในกลุ่มภาคสนาม จำนวน 32 คน พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.12/81.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้                     แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า                1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ              ทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้  แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา 3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า   1) ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง เพศศึกษากับวัยรุ่น รายวิชาสุขศึกษา3 รหัสวิชา พ22101 เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.83 S.D. = 1.04) และ 2) ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนดอนไพลพิทยาคมที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.23, S.D. = 1.11)