Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ๑ โดยใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ต. ซับสมอทอด อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

ผู้วิจัย นางณัฐาพร มูลมี

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 2 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนแผนการเรียนสายวิทย์ คณิต ร้อยละ  ๘๐ ได้เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์มากขึ้น และเพื่อวัดความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้แรงจูงให้ให้คะแนนสมรรถนะเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ซับสมอทอด  อบึงสามพัน  จเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน  ๔๐  คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบข้อตกลงให้คะแนนสมรรถนะ C+๕ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์   ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมก่อน และหลังการวิจัยเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงในลักษณะพึงประสงค์เพิ่มขึ้นหรือไม่  และใช้แบบวัดความพึงพอใจกรณีใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ นี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) นำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย

          ผลการวิจัยพบว่า

         ตอนที่ ๑ การใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้  ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ช่วยให้นักเรียนทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุกคน  คะแนนต่ำสุดคือ  ได้คะแนนรวมC+๕  เท่ากับ  ๕๓๕ คะแนน  แทนคะแนนดิบ ได้ จำนวน ๑.๐๗.  คะแนน  คะแนนสูงสุด ได้คะแนนสมรรถนะC+๕  เท่ากับ ๑,๔๑๔  คะแนน  แทนคะแนนดิบได้  จำนวน ๒.๘๕  คะแนน  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ว่าจะมีนักเรียนสามารถมีคะแนนเพิ่มได้ จำนวน   ๘๐  %  จากจำนวนนักเรียน   ๔๐   คน   ซึ่งภายหลังมีนักเรียนแจ้งความประสงค์ลาออก จำนวน  ๒  คน  จึงกำหนดค่าเป้าหมายจาก ๔๐ เป็น ๓๘  คน ซึ่งผลสรุปมีนักเรียนที่มีคะแนนที่ได้จากกิจกรรมเพิ่มขึ้นได้ทุกคน  คิดเป็น  ๑๐๐  %  เพียงแต่ระดับคะแนนมีความแตกต่างกันตามพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์  และผลที่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย

         ตอนที่ ๒ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ   สามารถจูงใจให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์มากขึ้นเพียงใด  ผู้วิจัยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมสังเกตก่อนการวิจัย  ได้ผลสรุปว่า  นักเรียนม. ๔/๑ จำนวน  ๓๘  คน  มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ประเมิน  ได้ระดับมากที่สุด  -  คน  ระดับมาก  จำนวน   ๘  คน  ระดับปานกลาง  จำนวน  ๒๔  คน   ระดับน้อย  ๖ คน  และระดับน้อยที่สุด  ไม่มี  สรุปคือนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีพฤติกรรมตามข้อ  (๒)  แต่มีปฏิกิริยาไม่พอใจ

         
 และผู้วิจัยได้ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมสังเกตผลหลังการวิจัย  ได้ผลสรุปว่า  พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑  อยู่ในระดับดีมาก  ไม่มี ระดับมาก เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น จำนวน   ๒๘  คน  ระดับปานกลาง  จำนวน   ๕  คน  ระดับน้อย  จำนวน  ๕  คน  ระดับน้อยที่สุด ไม่มี  แสดงถึง การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ แม้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้ระดับที่สูงขึ้นถึงระดับดีมาก แต่ก็เห็นผลว่านักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น ลดความก้าวร้าวลง มีความตระหนักด้านความเป็นระเบียบมากขึ้น นักเรียนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้น อาจเนื่องด้วยภาคเรียนที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก และ นักเรียนบางส่วนมีผลกระทบติดโควิด - ๑๙  รอยต่อของความทำความเข้าใจในกิจกรรม ดังพอสังเกตได้จากการแสดงความคิดเห็นจากแบบวัดความพึงพอใจ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแรงจูงใจที่ใช้นี้ ซึ่งควรต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้มีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมอีกครั้ง  ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางให้นักเรียนให้ความร่วมมือและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นด้วย

          
ตอนที่ ๓ เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์การวัดความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรม แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ  ภายใต้สมมุติฐานว่า  ผู้เรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และยังไมพร้อมเปลี่ยนแปลงตนเองให้พึงประสงค์ เช่น ขาดเหตุผล ชอบทำผิดระเบียบ ต่อต้านการให้คำแนะนำ  ขาดมารยาท ใช้วาจาไม่สุภาพเรียบร้อย ขาดสัมมาคารวะต่อบุคคลอื่น  จะมีความพึงพอใจกิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ น้อย

         ผู้วิจัย ได้ข้อสรุปผลการวิจัยว่า
         ๑.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ๑ หลังสอบหลังเรียน  นักเรียนประเมินผลตนเองได้ระดับปานกลาง คือได้ระดับ  ๒.๐๐ แสดงว่าเข้าใจความสามารถด้านความรู้ที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบ
         ๒.    ก่อนใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ การใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อนในห้อง มองด้านความมีวินัย การแต่งกาย รักความสะอาด เป็นระเบียบ  มีจิตอาสา มีน้ำใจ การใช้ภาษาต่อเพื่อนและครู มีบรรยากาศและส่งผลต่อสมาธิในการเรียนอย่างไร ได้ระดับมาก  ระดับ  ๓.๒๑  แสดงถึงพื้นฐานของผู้เรียนมีความประสงค์ให้บรรยากาศในห้องเรียนมีลักษณะที่ดีตามลักษณะที่เป็นแบบคำถาม
      ๓. ท่านคิดว่าพฤติกรรมที่ดีทางวาจา  ความมีวินัย ความเป็นระเบียบ ความสนใจเรียน กล้าแสดงออก มีจิตอาสา มีสัมมาคารวะต่อครูผู้สอน การใช้มารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการให้เกียรติผู้อื่น มีความจำเป็นในการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เพียงใด ได้ระดับมากที่สุดระดับ .๑๘ แสดงให้เห็นถึงนักเรียนก็ต้องการบรรยากาศที่ดีที่มีลักษณะการใช้วาจาที่ดี นักเรียนในห้องมีวินัย มีความเป็นระเบียบ นักเรียนในห้องมีความสนใจเรียน  กล้าแสดงออก  มีจิตอาสา  มีสัมมาคารวะต่อครูผู้สอน  การใช้มารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการให้เกียรติผู้อื่น
          ส่วน แบบคำถามตอนที่ ๒  ข้อ  ๔ - ๑๐  เป็นแบบคำถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อ
การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้  ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
       
๔. การใช้แรงจูงในให้คะแนนสมรรถนะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ นักเรียนมีโอกาสเพิ่มคะแนนด้าน KPA มากขึ้น  ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๓๒ แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในกิจกรรม และเห็นประโยชน์ที่จะให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
        ๕.  การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะช่วยให้นักเรียนมีสมาธิ   ในการเรียนมากขึ้น  ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุดระดับ ๔.๐๖  แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมนี้มีส่วนช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นในการเรียน
          ๖. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาช่วยให้   ห้องเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อย 
สะอาดขึ้น มีบรรยากาศการเรียนรู้ดีขึ้น  ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด  ระดับ ๔.๐๖  แสดงถึงเมื่อนักเรียนตระหนักและจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการให้ความร่วมมือแล้วเพื่อรับคะแนน C + ๕ ก็จะส่งผลให้ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ดีตามไปด้วย
         . การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาช่วยให้    นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้นได้ผลการประเมินระดับมากที่ ระดับ ๓.๘๒

         ๘. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาส่งเสริมให้กล้าพูด กล้าแสดงออก และกล้าทำความดีมากขึ้นได้ผลการประเมินระดับมาก  ระดับ ๓.๘๘
         ๙. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะนี้ให้ประโยชน์กับ   นักเรียนและการสร้างบรรยากาศห้องเรียนเพียงใดได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๐๖ 
         ๑๐.นักเรียนคิดว่าการใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ ควรมีกิจกรรมนี้ต่อหรือไม่  ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๑๕

         สรุปนักเรียนมีความพึงพอใจการใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้าน  K P A  เฉลี่ยได้ระดับมากที่สุด คือ ได้ระดับ    ๔.๐๕    แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมดังกล่าวสามารถเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์แล้วยังช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นได้ด้วย