Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย ธัญชนก เดชพันธ์

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 3 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (one group pretest - posttest) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาลวัดนิโครธาราม มีนักเรียนจำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (
Cluster Sampling) โดยใช้ห้องเป็นหน่วยสุ่มเนื่องจากจัดห้องแบบคละนักเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Scale) จำนวน 10 ข้อ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของกระบวน การประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที t - test (dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

 

               1รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG  MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.48 /86.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานที่ 1

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG  MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 2

            3คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประเมินโดยครูผู้สอนและนักเรียนประเมินตนเองหลังเรียนสูงกว่า  ก่อนเรียน

            4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หน่วย เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ POPEANG  MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.62, S.D .= 0.55)
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 3