Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว21101) เรื่องโครงสร้างอะตอม ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน

ผู้วิจัย นางสาวณัฐสุดา จงสมชัย

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว21101) เรื่องโครงสร้างอะตอม ด้วยการจัดการเรียนรู้  แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองพอกวิทยายน  อำเภอดอนจาน  จังหวัดกาฬสินธุ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2566  โดยการสุ่มแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน  จำนวน 6 คน  เป็นกลุ่มทดลอง

ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน   

              เครื่องมือที่ใช้  ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบ  วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบประเมินความสามารถในการสร้างแบบจำลอง     

              สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  การหาค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และสถิติทดสอบที (t-test)  

                    1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับ 

การใช้แบบจำลองเป็นฐาน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับ

การใช้แบบจำลองเป็นฐาน มีความสามารถในการสร้างแบบจำลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    โดยสรุปกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะค้นหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้   แบบจำลองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน  สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ของรายวิชาได้  อีกทั้งยังส่งเสริม และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย  รวมถึงสามารถสร้างมโนภาพ  เกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชาอื่น ๆ  จากการสร้างแบบจำลองด้วยตนเองได้