Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมห้องเรียนพิเศษสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาจีน และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)

ผู้วิจัย นางยุภาวดี มีตา

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมห้องเรียนพิเศษสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาจีน และภาษาอังกฤษ

โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)

 

ผู้วิจัย   นางยุภาวดี  มีตา  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 

วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ

โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

 

ปีการศึกษา      2566

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการส่งเสริมห้องเรียนพิเศษสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาจีน และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 38 คน ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน และนักเรียน จำนวน 56 คน                  รวมทั้งสิ้น 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า                 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 

              1. ด้านบริบท (C: Context Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

              2. ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

              3. ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

              4. ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานผลงาน และความสำเร็จด้านภาษาจีน และภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก