ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีผลต่อแนวคิดเชิงคำนวณ
ผู้วิจัย นางจิระณาฏ ฉวีพัฒน์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 6 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสหวิทยาคม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged
Coding จำนวน 3 แผน รวม 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงคำนวณ
แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 3)
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged
Coding จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการหาค่า t – test แบบ Dependent Group
ผลการวิจัยปรากฏ
ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.44 / 87.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีการคิดเชิงคำนวณที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Unplugged Coding หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Unplugged Coding มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย (x̅ = 4.53 และ S.D. = 0.46)