Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครูโรงเรียนไตรมิตร ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้วิจัย ณรงค์ฤทธิ์ แขมคำ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 9 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

              การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครูโรงเรียนไตรมิตรในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครู 3) ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครู และ 4) ประเมินผลกระทบ  การใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครู กลุ่มเป้าหมายได้แก่ครูโรงเรียนไตรมิตร จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการ ได้แก่ กฎหมาย นโยบายและแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ผู้เรียนขาดทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ได้รับการส่งเสริมให้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างจริงจัง          2) รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะครูโรงเรียนไตรมิตรในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีชื่อว่า CENTURY Model ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Context Analysis : C ขั้นที่ 2 Experience : E ขั้นที่ 3 Novelty : N ขั้นที่ 4 Teaching plan : T ขั้นที่ 5 Unimate learning : U ขั้นที่ 6 Result study : R ขั้นที่ 7 Yield Reflection : Y 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผลการประเมิน    การฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด (   = 4.59, S.D = 0.52) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด           (  = 4.65, S.D. = 0.47) สมรรถนะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.63, S.D. = 0.45) และ 4) ผลการประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (  = 4.48, S.D. = 0.42) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.58, S.D. = 0.48) จากการสนทนากลุ่ม พบว่า องค์ประกอบรูปแบบมีความเหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะการนิเทศภายในอีกด้วย

คำสำคัญ: ทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้

 


1ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไตรมิตร องค์การบริหารส่านจังหวัดศรีสะเกษ

Director of Trimit School, Sisaket Provincial Administrative Organization

[email protected]