ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสุภาพ บุญรมย์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 11 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT
ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสุภาพ บุญรมย์
ผลงานวิชาการ
วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนละทายวิทยา
อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนละทายวิทยา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียน 31 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 8 แผน 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.21- 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.25 - 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 4) แบบวัดความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และใช้สูตร Dependent Sample
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.66/81.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ
0.69 หรือคิดเป็นร้อยละ 69 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 69
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนด้วยการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4
MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
(= 4.29, S.D = 0.63)
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องรู้หลักภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้เรียน