Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q

ผู้วิจัย นายเกรียงศักดิ์ ยอดสาร และคณะ

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 14 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q และวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q 4) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 4 ตอน ดังนี้

             ตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ส่วน ดังนี้ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กรสู่คุณภาพสูง 1.2 การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน

             ตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ผลการวิจัยในระยะที่ 1 ส่วนที่ 2.2 การตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ส่วนที่ 2.3 รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ที่ผ่านการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ผลการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิในระยะที่ 2 ส่วนที่ 2.4 การจัดทำและประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือ  มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 19 คน ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 2 คน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 12 คน และประธานสหวิทยาเขต จำนวน 5 คน และการประเมินคู่มือโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้บริหารการศึกษา ที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 เป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาเอกขึ้นไป จำนวน 3 คน และกลุ่มที่ 3 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน

             ตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยผู้วิจัยได้นำรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ไปใช้ในปีงบประมาณพ.ศ.2566 และสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 22 คน และผู้บริหารสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ทั้งหมด 41 โรงเรียน จำนวน 41 คน ต่อรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย  สู่องค์กรคุณภาพ 5Q 

             ตอนที่ 4 การประเมินรับรองรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 5 คน และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 11 คน

             ผลการวิจัย พบว่า

             1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายสู่องค์กรคุณภาพ 5Q พบว่า มี 6 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 1.1 หลักการมีส่วนร่วม 1.2 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.3 หลักธรรมาภิบาล องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบประกอบด้วย 2.1 เพื่อพัฒนาการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ให้เป็นองค์กรคุณภาพ 5Q 2.2 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และบุคลากรทางการศึกษานำไปปฏิบัติ สู่ความเป็นองค์กรคุณภาพ 5Q องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย 3.1 นักเรียนคุณภาพ (Quality Student) 3.2 ครูคุณภาพ (Quality Teacher) 3.3 ผู้บริหารคุณภาพ (Quality Administrator) 3.4 โรงเรียนคุณภาพ (Quality School) 3.5 เขตพื้นที่การศึกษาคุณภาพ (Quality Secondary Educational Service Area) องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการขับเคลื่อนรูปแบบ ประกอบด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ (SWOT Analysis : S) กระบวนการวางแผน โดยใช้หลัก PLC ในการดำเนินงาน (Plan & PLC : P) การบริหารจัดการทันสมัย (Modern Organization : M) การติดตามผลให้ชัดเจน (Clarify : C) การรายงานและทบทวนผลการดำเนินงาน (Report & Refine : R) องค์ประกอบที่ 5 แนวทางการประเมินรูปแบบ ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ และผลการจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q มีความเหมาะสมมากที่สุด มีองค์ประกอบของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ  บทที่ 2 รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q และเอกสารอ้างอิง

2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ได้แก่
1.หลักการมีส่วนร่วม 2. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. หลักธรรมาภิบาล องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ได้แก่ 1. เพื่อพัฒนาการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ให้เป็นองค์กรคุณภาพ 5
Q 2. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และบุคลากรทางการศึกษานำไปปฏิบัติ สู่ความเป็นองค์กรคุณภาพ 5Q 3. เพื่อใช้เป็นนวัตกรรมการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาของรูปแบบ ได้แก่  1. นักเรียนคุณภาพ (Quality Student) มี 3 ตัวชี้วัด 2. ครูคุณภาพ (Quality Teacher) มี 3 ตัวชี้วัด
3. ผู้บริหารคุณภาพ (
Quality Administrator) มี 3 ตัวชี้วัด 4. โรงเรียนคุณภาพ (Quality School) มี 3 ตัวชี้วัด 5. เขตพื้นที่การศึกษาคุณภาพ (Quality Secondary Educational Service Area) มี 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการขับเคลื่อนรูปแบบ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการคิดวิเคราะห์ (SWOT Analysis : S) ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการวางแผน โดยใช้หลัก PLC ในการดำเนินงาน (Plan & PLC : P) ขั้นตอนที่ 3 การบริหารจัดการทันสมัย (Modern Organization : M) ขั้นตอนที่ 4 การติดตามผลให้ชัดเจน (Clarify : C) ขั้นตอนที่ 5 การรายงานและทบทวนผลการดำเนินงาน (Report & Refine : R) องค์ประกอบที่ 5 แนวทางการประเมินรูปแบบ ได้แก่ 1. ประเด็นการประเมิน ได้แก่ 1.1 ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจาก การบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ผู้เรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ ผู้บริหารคุณภาพ ห้องเรียนคุณภาพ โรงเรียนคุณภาพ เขตพื้นที่การศึกษาคุณภาพ 1.2 ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ต่อรูปแบบ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 2.1 แบบบันทึกคุณภาพการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q 2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1. ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2. การมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3. การให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และ ความเป็นไปได้ ตามลำดับ

3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนการใช้กับหลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ด้านนักเรียนคุณภาพ (Quality Student : Q1)  มีผลลัพธ์ทุกตัวชี้วัดสูงขึ้น ด้านครูคุณภาพ (Quality Teacher : Q2) มีผลลัพธ์ทุกตัวชี้วัดสูงขึ้น ด้านผู้บริหารคุณภาพ (Quality Administrator : Q3) ทุกตัวชี้วัดมีผลลัพธ์ร้อยละ 100 ทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ด้านโรงเรียนคุณภาพ (Quality School : Q5)  มีผลลัพธ์ทุกตัวชี้วัดสูงขึ้น ด้านระบบประกันคุณภาพ (Quality Assurance : Q6) มีผลลัพธ์ทุกตัวชี้วัดสูงขึ้น ด้านเขตพื้นที่การศึกษาคุณภาพ (Quality Secondary Educational Service Area : Q7) มีผลลัพธ์สูงขึ้น 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาที่เป็นระบบ เพื่อให้บรรลุภารกิจและเป้าหมายโดยยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพมาตรฐานตำแหน่ง และวิทยฐานะ มีผลลัพธ์คงที่ 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านความพึงพอใจ
ต่อรูปแบบ พบว่า บุคลากรทางการศึกษาและ
ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สู่องค์กรคุณภาพ 5Q อยู่ในระดับมากที่สุด และได้รับการรับรอง เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาของรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ตามลำดับ