Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นางศุภานัน นเรวรรณ์

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 17 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

 

ศุภานัน นเรวรรณ์

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้ 4) การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.2 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลการเรียนรู้ แบบประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้    การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที  

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ       ความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า “RACS Model” มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัด       การเรียนรู้ มี 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 Recognizing : R (การกระตุ้นความรู้เดิม) ขั้นที่ 2 Associating : A (การเชื่อมโยงความรู้ใหม่ขั้นที่ 3 Coaching : C (การสร้าง     องค์ความรู้)  ขั้นที่ 4 Sharing : S (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)  4) ระบบสังคม 5) ระบบสนับสนุน และ 6) การวัดและประเมินผล มีค่าประสิทธิภาพ           E1/E2 เท่ากับ 85.42/82.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80  2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 24.60 คิดเป็นร้อยละ 82.00 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 24.77  คิดเป็นร้อยละ 82.56 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ     การจัดการเรียนรู้ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.80, S.D. = 0.40)

 

คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ