ชื่อเรื่อง การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
ผู้วิจัย ปิยวรรณ พงษ์พิทักษ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 19 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
1. ความสําคัญของนวัตกรรม
จากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ได้มีนโยบายการศึกษาเรื่องเด็กไทยทุกคนต้องเรียนโค้ดดิ้ง(Coding) โดยใช้คำว่า“Coding for all”โดยกำหนดไว้ในนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา
อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารภาษาต่าง ๆ ของเยาวชนไทย
ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนภาษาคอมพิวเตอร์(Coding) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทักษะภาษาใหม่ที่จะใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในอนาคต
โดยจะบรรจุเข้าไปในหลักสูตรการเรียนของเด็กไทย มีเป้าหมายทำ ให้เด็กเข้าใจการทำ งานของปัญญาประดิษฐ์
(ArtificialIntelligence : AI)และหุ่นยนต์ สอดคล้องกับการเตรียมกำ ลังคนของประเทศให้มีทักษะทันโลกยุคดิจิทัล
มีอาชีพตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นการสนับสนุนการเรียน Coding ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะเป็นทักษะภาษาเช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอื่น
ซึ่ง Coding จะช่วยพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะชีวิตให้กับเด็กรอบด้าน
ได้แก่C-Creative Thinking: ความคิดสร้างสรรค์
O-Organized Thinking: ความคิดที่เป็นระบบ ระเบียบและมีตรรกะวิเคราะห์สิ่งต่าง
ๆ ในชีวิตประจำวัน D-Digital Literacy: ความสามารถในการเข้าใจภาษาดิจิทัล
I-Innovation:นวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
N-Newness: ความคิดริเริ่มที่มีความสดใหม่ ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี
G-Globalization: ยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีนิยามว่า ยุคศตวรรษที่
21 การเรียนโค้ดดิ้ง(Coding) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปและไม่ต้องห่วงกังวลว่า
จะยากเกินสำ หรับเด็กหรือผู้คนทั่วไป เพราะ Coding ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเด็กที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ Coding ยังช่วยสร้างความคิดที่เป็นระบบ ซึ่งทักษะการคิดที่เป็นระบบถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานของการคิดทั้งมวล
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินใน ชีวิตประจำวัน ทำให้ทักษะในการคิดที่เป็นระบบมีความสำคัญต่อผู้เรียนอย่างมาก
ดังนั้นครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาทักษะการคิดเพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 6) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในคิดเป็นความสามารถในการรู้จักคิดวิเคราะห์
คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ
และคิดเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศ
เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ทักษะการคิดมิใช่เพียงรู้จักคิดและรู้จักการใช้สมองหรือเป็นทักษะที่มุ่งพัฒนาสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังเป็นทักษะที่พัฒนาทัศนคติ วิธีคิด ค่านิยม ความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆได้ดี
ทักษะการคิดแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา ฝึกฝนให้เด็กได้มีทักษะการคิดมากขึ้น
ทั้งนี้โรงเรียนบ้านพรานกระต่ายมีเป้าประสงค์หลักในการจัดการศึกษาเพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดเป็นการนำไปสู่กระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งจำเป็นต้องหาวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสุขและพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยความเต็มใจ
โดยดำเนินการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนโดย
วิเคราะห์จาก รายงานผลการสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(Mi-Test)
ผลการวิเคราะห์พบว่า จากการคัดกรองนักเรียน 25 คน 3 อันดับ
สูงสุดในการวัดแววความสามารถคือ ลำดับที่ 3 แววด้านเครื่องกล คิดเป็นร้อยละ 40.00
ลำดับที่ 2 แววด้านวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 44.00 และลำดับสูงสุดคือ
แววด้านศิลปะ คิดเป็นร้อยละ 48.00 จึงได้จัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based
Learningหรือ GBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากในปัจจุบัน
ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการที่ผู้เรียนในวัยเด็กยุคนี้เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคที่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆและเครื่องมือสื่อสารมีการพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกัน
จึงมีผลทำให้เกิดเป็น ความชอบ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้ประกอบกับการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติการต่างๆด้วยเกม
ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้นอกจากนี้การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based
Learningหรือ GBL)ยังเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้นำเอาความสนุกสนานของเกมในรูปแบบ
ใหม่ๆผสมผสานเนื้อหาเข้ากับบทเรียนวิชาต่างๆเข้าด้วยกันได้ไม่ยากทั้งยัง
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินมีความสุขกับการเรียนรู้และได้รับความรู้ไปด้วย
โดยเฉพาะเกมที่มีสถานการณ์จำลองมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและมีความท้าทายทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อและเพื่อเป็นการสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณจึงใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เป็นการเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของผู้เรียนการสอนให้เด็กคิดแก้ปัญหาจะต้องหาวิธีการให้เด็กเข้าใจถึงปัญหา
และสามารถให้คำจำกัดความได้เป็นสิ่งแรก รวมถึงทฤษฏีทางสติปัญญาของเพียเจท์
(Piaget, 1969 อ้างถึงใน กนกวรรณ พิทยะภัทร์ และ ศีริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย,
2558 : 275-280) ที่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญานั้นควรให้เด็กเรียนรู้โดยการกระทำมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งวิธีการเรียนรู้ดังกล่าว นำไปสู่การเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของผู้เรียน
เบนจามิน วูล (Benjamin Wohl, 2020 : 55) ได้ทำการศึกษา การสอนวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กอายุ
5 – 7 ปี : การศึกษาเบื้องต้นด้วยชุดคำสั่ง และการเรียนวิทยาการคำนวณ
พบว่า หลังจากเด็กได้เรียนรู้การใช้วิทยาการคำนวณ เด็กสามารถใช้ความคิดที่ซับซ้อนและอธิบายขั้นตอนในการทำกิจกรรมได้ดีกว่าก่อนที่จะเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
อย่างไรก็ตามการใช้เกมเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจากประสบการณ์
ทั้งนี้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น
จึงใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย
จังหวัดกำแพงเพชรเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีความสุขต่อการทำกิจกรรมได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสืบต่อไป
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดําเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้เกมโค้ด ดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
3.
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณเพิ่มขึ้น
3. ขั้นตอนการดําเนินงาน
การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
ขั้นที่
1 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนโดยการให้
นักเรียนชั้นป.
5/1 จำนวน 25 คน
สำรวจแววความสามารถพิเศษของตนเองโดยใช้ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
( https://mi-test.obec.go.th)
1.2 พิมพ์รายงานผลการสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(Mi-Test)
เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลด้านความรู้ความสามารถของผู้เรียนพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนรวมทั้งความสามารถทางด้านสุภาพร่างกายและจิตใจ
ขั้นที่ 2 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณโดยมีกรอบแนวคิดดังนี้
2.1
เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2551 (ปรับปรุง 2560)
2.2
เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ
ขั้นที่
3 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งเป็น 2
ขั้นตอน ดังนี้
3.1
วิเคราะห์เป้าหมายของเกมโค้ดดิ้ง วิเคราะห์เป้าหมายของเกมโค้ดดิ้งโดยดำเนินการศึกษาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช
2551(ฉบับปรับปรุง 2560)
3.2 วิเคราะห์เนื้อหาของเป้าหมายของเกมโค้ดดิ้ง
การนำเกมโค้ดดิ้งมาใช้ทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อเพิ่มทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณนั้น
จำเป็นต้องเรียนรู้เนื้อหาที่สำคัญ คือ ความหมายของเกมโค้ดดิ้ง ชุดคำสั่งที่ใช้ในเกมโค้ดดิ้ง กระบวนการทำงานของเกมโค้ดดิ้ง โดยใช้หลักการของเกมมาประยุกต์ซึ่งในแต่ละด่าน(Level)ที่เล่นเกม
จะมีภารกิจที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางความคิดของผู้เรียนเพื่อที่จะทำให้ผ่านไปได้อย่างรวดเร็วจนถึงด่านที่
10 คือด่านสุดท้ายที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ
3.3
สร้างแผนการจัดการเรียนรู้
การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ โดยนำหลักการต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ
โดยนำเอากลไกของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้นในการเรียนรู้ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี
มีกระบวนการที่ง่ายต่อการเข้าใจในสิ่งที่ซับซ้อน
มาเป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้ได้มีการระบุจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพิ่มทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ
ขั้นที่
4 การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
4.1
ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
4.2
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้การใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
4.3
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อหาค่าเฉลี่ยร้อยละและคะแนนความ
ก้าวหน้าของการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
4.4
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลนำค่าเฉลี่ยร้อยละมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
4.5
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมโค้ด
ดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย
จังหวัดกำแพงเพชร
ขั้นที่
5 สรุปผลการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
5.1 สรุปผลการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
5.2 จัดทำรายงานสรุปผลการใช้เกมโค้ดดิ้งออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร