Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)

ผู้วิจัย เสาวนีย์ อารีรักษ์

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 21 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)

ผู้วิจัย              นางเสาวนีย์   อารีรักษ์

ปีการศึกษา      2566

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning)   เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning)  เรื่องสมบัติทางกายภาพของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)   ดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี  ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) นำข้อมูลมากำหนดโครงสร้าง องค์ประกอบของรูปแบบการสอน  และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้   ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน  โดยการนำรูปแบบการสอนไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยการนำรูปแบบการสอนไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)  จำนวน  32  คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน เรื่องโรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1)  แผนการจัดการเรียนรู้  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้  3)  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้   ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที  และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

1. รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  มีองค์ประกอบคือ 1)  รูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล 2) แผนการจัดการเรียนรู้  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนรู้  ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเรียนรู้สถานการณ์  2)  ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา  3)  ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า  4)  ขั้นสังเคราะห์ความรู้   5)  ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ และ  6)  ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 88.63/89.24 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80  ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2.  ความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                      ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 

          3.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบการสอน            แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด