Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น

ผู้วิจัย สายสุดา ฤทธิยงค์

ปีการศึกษา 2565

วันที่เผยแพร่ 23 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                     การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21

ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น      

ผู้วิจัย                       สายสุดา  ฤทธิยงค์

ปีการศึกษา                2565

บทคัดย่อ

         

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 3) ทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 4) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ยกร่างรูปแบบ และตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมองค์ประกอบ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความเหมาะสม แบบทดสอบแบบสอบถามพฤติกรรม แบบสอบถามประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นและค่าความต้องการจำเป็น

 

             ผลการวิจัย พบว่า

                    1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า 1.1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 5 ด้าน 58 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ มี 11 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ มี 12 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการมีส่วนร่วม มี 12 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการสื่อสาร มี 12 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการกำกับ นิเทศ ติดตาม มี 11 ตัวบ่งชี้ มีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54,S.D. =0.55) 1.2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.43, S.D. =0.76) 1.3) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60, S.D. =0.50) 1.4) ลำดับความต้องการจำเป็น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (PNImodified = 0.391)

                    2. ผลการสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า 2.1) รูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3)  กระบวนการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนา 4) การประเมินผล และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56, S.D. =0.52) 2.2) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า 3.1) ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ หลังใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมพัฒนา มีคะแนนทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมพัฒนา 3.2) ผลการประเมินพฤติกรรมตามรูปแบบ หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D. =0.49) สรุปได้ว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าระหว่างการพัฒนา 3.3) ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D. =0.50)

4. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ด้านความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D. =0.48) ด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D. =0.47)

 

คำสำคัญ  :  รูปแบบ, การบริหารงานวิชาการ,  ศตวรรษที่ 21