Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)

ผู้วิจัย พีรญา รุลปักษ์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 28 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11

จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)

ชื่อผู้วิจัย          นางพีรญา รุลปักษ์ ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา  เทศบาลนครสงขลา

ปีที่วิจัย           2567

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน             ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) และ4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา  เทศบาลนครสงขลา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)  เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน คือ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) และแผนการจัดการเรียนรู้  และ3)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ได้แก่  แบบทดสอบการอ่านจับใจความ  แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัย  พบว่า

1. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอน  1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M)  2) ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (New Content : N) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice : P) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 3.1) กิจกรรมอ่านละเอียด (Read : R1) 3.2) กิจกรรมจดบันทึก (Record : R2) 3.3) กิจกรรมเขียนสรุปใจความสำคัญ (Recite : R3) 4) ขั้นนำเสนอ (Presentation : P) และ5) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11     จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน     ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)  พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีผลประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก 

3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน          จับใจความภาษาไทยเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) พบว่า  นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้กาพย์ยานี 11 จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก