ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการสอน วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นปีที่ 2 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสตูล
ผู้วิจัย นายอนันต์ โปดำ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 2 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอน วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอน วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอน วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นปีที่ 2 สาขางานยานยนต์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 และมีประสิทธิภาพโดยภาพรวม 83.04/81.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57