ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สังกัด สพม.นม
ผู้วิจัย ดร.พุทธิภา เหล็กคงสันเทียะ
ปีการศึกษา 2563
วันที่เผยแพร่ 2 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการา ด้านผลผลิต องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ องค์ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล องค์ประกอบย่อยด้านความยั่งยืน และองค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้ และ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้รายงานใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากครูและบุคลากร จำนวน 135 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 352 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 352 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 839 คน และการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับโครงการจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Indicator) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการตรวจสอบเอกสารโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลความคิดเห็นของครูและบุคลากรที่มีต่อโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 6 ด้าน และอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านผลผลิตองค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ รองลงมา คือ ด้านสภาวะแวดล้อม และด้านปัจจัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านผลผลิตองค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ
2. ผลความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านผลผลิตองค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านองค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านความยั่งยืน รองลงมา คือ ด้านผลผลิตองค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อมและด้านปัจจัย
3. ผลความคิดเห็นของผู้ปกครองมีต่อโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาโดยภาพรวม พบว่า
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ข้อ และระดับมากที่สุด จำนวน 2 ข้อ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ รองลงมา คือ องค์ประกอบย่อยด้านการประเมินด้านความยั่งยืน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อม
4. ผลการดำเนินงานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาจากการสัมภาษณ์ พบว่า
ภาพรวมของโครงการมีความเหมาะสมเพราะเป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนโดยเฉพาะเรื่องจิตอาสา
เมื่อแยกตามรายด้าน พบว่า
ด้านบริบท
วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติได้จริง
มีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง
สังคมและชุมชน
ด้านปัจจัย
บุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการดำเนินงาน
แต่งบประมาณและสื่อ วัสดุ อุปกรณ์มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอ
ด้านกระบวนการ
การบริหารจัดการโครงการมีความเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนจัดเนื้อหาอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรมทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
และมีการนิเทศติดตามประเมินผลโครงการ
ด้านผลผลิต องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ ผลงานที่เกิดขึ้น
มีประโยชน์โดยตรงกับ ผู้เรียนและผู้ปกครอง ทำให้เกิดการเรียนรู้และการปรับตัว
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล โครงการมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
และการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การดำเนินงานโครงการมีความประหยัด
ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า องค์ประกอบย่อยด้านความยั่งยืน นักเรียนสามารถ นำความรูที่ไดจากการเรียนการสอน
การร่วมกิจกรรม โครงการไปประยุกต์ใช้ได้ทั้ง ในการทำงานการเรียนและชีวิตประจำวัน ฐานการเรียนรู้ครอบครัวพอเพียงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
และองค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้ นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้หรือขยายองค์ความรู้จากการเรียนการสอนการร่วมกิจกรรมโครงการ
ไปสู่เพื่อน ครอบครัวของนักเรียนและชุมชนได้อย่างเหมาะสม สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน
สามารถถ่ายทอดความรู้ แนวคิดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงานได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
: การประเมินโครงการ, เศรษฐกิจพอเพียง,
โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน