Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นางพรทิพย์ สุโพธิณะ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 6 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2). เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง และ (4) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์) ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัด ประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน 
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ 1.แบบทดสอบความสามารถในการเรียน 2. แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียน และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนนี้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test Dependent Sampling) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis
          ผลการวิจัย พบว่า
               1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง 
               2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่ากับ 82.27/85.33 
               3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 3 ด้าน คือ ความสามารถในการเรียนของนักเรียน ด้านความรู้ความเข้าใจในการเรียน และด้านความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ทุกด้าน
               4. ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด