Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง ประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย ที่มารับบริการแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลแสวงหา

ผู้วิจัย สุธาทิพย์ เรือนทองดี

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 7 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เปรียบเทียบกลุ่มกลุ่มเดียววัดผล เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลแสวงหา ตั้งแต่เมษายน 2567- มิถุนายน 2567 จำนวน 30 คน โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากสถิติเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Paired sample t-test ผลการศึกษาวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการให้สุขศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลแสวงหา มีระดับความรู้หลังให้สุขศึกษาโรคหลอดเลือดสมอง มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนการให้สุขศึกษาเท่ากับ 15.9 (S.D.=4.8) และหลังการให้สุขศึกษาเท่ากับ 19.23 (S.D.=2.07) ดังนั้นการพัฒนาควรมีการจัดอบรม ให้ความรู้เพิ่มเติม ความตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยง การรักษาและการเข้าถึงระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างความตระหนักในการสังเกตลักษณะอาการของโรค อย่างทันท่วงที
คำสำคัญ : การให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกฉุกเฉิน ระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์
Abstract
 This research is a quasi-experimental research, comparing single groups to measure the results of using a stroke education program in 30 patients who visited the emergency department of Saeng Ha Hospital from April 2024 to June 2024. The study retrospectively studied data from medical records. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics, including Paired sample t-test. The results of the study found that the average knowledge score after providing health education increased significantly (p<0.001). Patients who visited the emergency department of Saeng Ha Hospital had a knowledge level after providing stroke health education. The average knowledge score before providing health education was 15.9 (S.D.=4.8) and after providing health education was 19.23 (S.D.=2.07). Therefore, the development should provide additional training, knowledge awareness, risk factors, treatment, and access to the emergency medical service system to stimulate and create awareness in observing the symptoms of the disease in a timely manner.
Keywords: Stroke education, Emergency department patients, Emergency medical service system