Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

ผู้วิจัย ปรีชา บุญจิตร

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 8 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

รูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 
วัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการนิเทศ ADOR Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพศึกษาของโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์) 2. ประเมินรูปแบบการนิเทศ ADOR Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
กระบวนการหรือขั้นตอนการนิเทศภายในสถานศึกษา
3.1 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
      โรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์) ได้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในการพัฒนารูปแบบ ADOR Model ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผู้สอนและสมถรรระผู้เรียน (R1)
1. แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกา เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์) โดยใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน
2. การศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์) ดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ประกอบ และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา 2) สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ครูผู้สอน 5 คน นักเรียน 10 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน และผู้ปกครอง 10 คน
3. สรุปสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการรูปแบบนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์)
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (D1)
1. นำผลที่ได้จากระยะที่ 1 มายกร่างรูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
2. ใช้เทคนิค สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศ ADOR
      1. Analysis (การวิเคราะห์สภาพปัญหาและบริบทในโรงเรียน)
      2. Develop (การพัฒนารูปแบบการนิเทศในแต่ละระดับชั้น)
      3. Observer (ดำเนินการนิเทศตามรูปแบบ)
      4. Reflect (การประเมินผลและสะท้อนผลที่เกิดเพื่อพัฒนาและปรับปรุง)
ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (R2)
1. การนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบ ADOR Model ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครู โรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์)  โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลา 1 ปีการศึกษา โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1) ประชุมครูเพื่อชี้แจงรูปแบบ ADOR Model 2) จัดอบรมครู แนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 3) จัดเตรียมเอกสารทุกชนิดไว้ให้ค้นคว้าและอ่านประกอบ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้และแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน     4) ประชาสัมพันธ์แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบ ADOR Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ไปใช้ให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ผ่านช่องทางต่าง ๆ          
 ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้ รูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (D2)
ผลการพัฒนานวัตกรรมพบว่า 
1.ประเมินผลการการใช้รูปแบบการนิเทศ ADOR เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ใช้รูปแบบ ADOR Model พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 89.70 ซึ่งสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยปีการศึกษา 2565 ที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 85.02