Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง พัฒนาสื่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบ PAR:SAPS Model ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์

ผู้วิจัย นางสาวกมลชนก พันธมาศ

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 22 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบ PAR:SAPS Model ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ แนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบ PAR : SAPS Model ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ 

เป้าหมาย  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 5 คน มีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ปีการศึกษา 2566 สูงกว่า ปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 0.5  ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบPAR:SAPS Model ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 5 คน มีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากขึ้นไป และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 20 ข้อและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผลสำเร็จ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) แบบ PAR:SAPS Model เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้   1. เชิงปริมาณ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1จำนวน 5 คน มีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ปีการศึกษา2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 18.92   2. เชิงคุณภาพ  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบPAR:SAPS Model ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 5 คนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากขึ้นไป