Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนวัดทองหลาง “เป็นคนดี มีจิตอาสา” ด้วย SCHOOL Model

ผู้วิจัย นางศิวพร กาจันทร์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 8 ตุลาคม 2567

บทคัดย่อ

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและความเป็นพลวัติของโลกที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้      การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันมีความท้าทายอย่างมาก ทำให้ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารให้สอดคล้องกับกระแสของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสร้างและส่งเสริมนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นคนดี มีคุณธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับประเทศไทยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่งและมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม     โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, 13 ตุลาคม 2561) ประกอบกับนโยบายและจุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นโยบายข้อที่ 1 ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ นโยบายข้อที่ 2 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย และนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ประเด็นสร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2568 และนโยบายเร่งด่วน (Quick win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. 14 พฤศจิกายน 2566) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานีเขต 2 ได้มีการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2566-พ.ศ.2570 (ฉบับปรับปรุง) โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดว่า “องค์กรแห่งความสุข สร้างคนดี มีสมรรถนะ มีคุณภาพ” และ    กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยโรงเรียนวัดทองหลาง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญใน       การจัดการเรียนรู้อันเป็นกระบวนการในการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่นักเรียนควบคู่ไปกับการส่งเสริมนักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมไปถึงการแสดงจิตอาสา จึงได้มีการวิเคราะห์องค์กรของโรงเรียนวัดทองหลางด้วยวิธี SWOT Analysis โดยยึดนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดในทุกระดับ ทำให้โรงเรียนพบจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ต่อโดยใช้หลัก TOWS MATRIXS เพื่อค้นหาและกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริบทด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้ผลการวิเคราะห์คือ กลยุทธ์เชิงรุก ดังมีรายละเอียดดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยให้สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 ตามมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา และกลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ จากผลการวิเคราะห์องค์กรและการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน ข้าพเจ้าในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทองหลาง ได้น้อมนำสู่การปฏิบัติและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองที่ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกันท่ามกลางกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนมาเป็นอันดับแรก ดังนั้น โรงเรียนต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจของสถานศึกษา โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งทางด้านคุณธรรมและวิชาการ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม สนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรม เน้นคุณธรรมอัตลักษณ์ของห้องเรียนสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา โดยจัดกิจกรรมในห้องเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่เสริมการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนควบคู่กับการพัฒนาทางวิชาการ ซึ่งครูผู้สอนของโรงเรียนวัดทองหลาง นับได้ว่าฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นตัวแปรสำคัญในการร่วมแรง ร่วมใจกันในการพัฒนาด้านคุณธรรม ดังนั้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้มีการสอดแทรกด้านคุณธรรมให้กับผู้เรียน และจากกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดทองหลางข้างต้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาได้ดำเนินงานและพัฒนางานตามภารกิจของสถานศึกษาเพื่อสนองกลยุทธ์ของโรงเรียน มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและคุณธรรมให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่เพียบพร้อม เป็นคนดี มีจิตอสา มีภูมิคุ้มกันอย่างรอบด้านและสามารถดำรงชีวิตในสภาพสังคมยุคปัจจุบันได้ ซึ่งต้องเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นผู้ที่มีความตระหนัก และเปี่ยมด้วยคุณธรรม มีคุณธรรมอัตลักษณ์ตรงตามที่สถานศึกษากำหนด เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ จึงจะสามารถอบรม สั่งสอนให้ศิษย์ เป็นดี มีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรมที่ดี ข้าพเจ้าจึงพัฒนานวัตกรรม SCHOOL Model ขึ้น เพื่อให้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนโรงเรียนวัดทองหลางมีคุณลักษณะคุณธรรมอัตลักษณ์ เพื่อสร้างคนดีให้เป็นต้นแบบของสังคมต่อไป

                  1.2 แนวคิดหลักการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงาน นวัตกรรม

โรงเรียนวัดทองหลาง เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเล็ก ๆ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม ค้าขาย เป็นต้น โรงเรียนมีความใกล้ชิดและมีเขตติดต่อกับวัดทองหลาง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ประชาชนในพื้นที่ได้มาประกอบกิจกรรมทางศาสนาบ่อยครั้ง อีกทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมจากหน่วยงานภายนอก เช่น มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย บริษัทสยามสไมล์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองหลางสามัคคี สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น       จะเห็นได้ว่า ในบริบทของการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ดังนั้น การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน “คน”จึงเป็นกลไลที่สำคัญ ซึ่งการปรับทัศนคติ สร้างพลัง สร้างแนวคิดในการพัฒนานักเรียนร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะ “ครู” เพราะครูคือต้นแบบที่นักเรียนมีความใกล้ชิด สามารถซึมซับทั้งความคิด ความประพฤติ        การแสดงออก สอดคล้องกับทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory) ของVittorio Gallese. Leonardo Fogassi and GiacomoRizzolatti ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอิตาลี ได้อธิบายว่า เซลล์กระจกเงาเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่คอยทำหน้าที่ในการเลียนแบบพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้อื่น ๆ มาเป็นพฤติกรรมของตนเอง หมายความว่า พฤติกรรมของเด็ก เยาวชน มีผลมาจากเซลล์กระจกเงาที่เด็กได้เลียนแบบมาจากพฤติกรรมของบุคคลใกล้ชิด หรือแม้กระทั่งบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กได้พบเห็น ถึงแม้ว่าเด็กจะไม่ได้เลียนแบบในทันทีที่เห็น แต่สมองของเด็กจะเก็บภาพการกระทำเหล่านั้นไว้และพร้อมที่จะเลียนแบบเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน ข้อค้นพบจากทฤษฎีเซลล์กระจกเงาชี้ชัดว่าการสอนที่ดีสุด คือ               การประพฤติเป็นแบบอย่างให้เห็นของผู้สอน หรือผู้ที่เลี้ยงดู ดังนั้นการเลียนแบบจากพฤติกรรมที่ถูกต้องของต้นแบบ รวมกับการพัฒนาทางด้านจิตใจในการเข้าใจผู้อื่น ทำให้เด็กค่อย ๆ มีความเข้าใจและพัฒนาเหตุผลในเชิงจริยธรรม ท้ายที่สุดเด็กก็จะมีบุคลิกภาพที่ถูกต้องความหมายของคำว่า “คนดี” ในสังคม กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา การสอนที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก เพื่อเด็กจะได้นำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตในอนาคตต่อไป (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, 2552 : 35) และข้าพเจ้าได้น้อมนำแนวคิดในการพัฒนาตามศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อเป็นแนวทางในการปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารคุณภาพการศึกษา อันเป็นแนวทางที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักพัฒนา ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริ หลักการทรงงาน หลักปรัชญาและหลักทฤษฎี เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่งคง โดยมุ่งเน้นการพัฒนา “คน” ให้สามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อมและภูมิสังคมที่ความแตกต่างกันได้ (ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์ และคณะ, 2563 : บทคัดย่อ)

หลักการสำคัญในการดำเนินงาน คือการควบคุมคุณภาพ ซึ่งหลักพื้นฐานกิจกรรมการควบคุมระบบคุณภาพประกอบด้วย การพัฒนาคน โดยผู้บริหารใช้หลักการมีส่วนร่วม ยอมรับและเคารพความคิดเห็นของทุกคนในองค์กร เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความสามารถและทักษะ มีเป้าหมายในการพัฒนาเดียวกัน การพัฒนางานโดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (สัมมา รธนิตย์, 2560 : 206)

ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ได้เสนอแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ไว่ว่า การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างแนวคิดคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผ่านการปฏิรูประบบการเรียนการสอนของประเทศไทย ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะ Classroom skill ต้องเปลี่ยนการจัดกระบวนกเรียนรู้ จากการเป็นครูผู้สอนเป็นครูผู้ฝึก รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองต้องปรับตัวเอง จากคนที่คอยพร่ำบอกพร่ำสอนมาเป็นโค้ช กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยมีแผนงานโครงการที่สำคัญคือ โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุกช่วงวัย และโครงการโรงเรียนคุณธรรม

จากแนวคิด หลักการสำคัญ ข้าพเจ้าจึงได้ขับเคลื่อนคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนวัดทองหลาง “เป็นคนดี มีจิตอาสา” ด้วย SCHOOL Model” เพื่อการบริหารจัดการสร้างสรรค์ให้บุคลากรในโรงเรียนวัดทองหลางทุกคนเป็นคนดี มีคุณลักษณธคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทของสถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยมีเป้าหมายคือ ผู้บริหาร ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปลูกฝังคุณธรรม และมีคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ได้แก่ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ อุดมการณ์คุณธรรม อย่างสมบูรณ์