Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตามแนวทางของ WHO ในจังหวัดปัตตานี

ผู้วิจัย นางณัฐนิชา วารีสมาน

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 16 ตุลาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตาม
แนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในจังหวัดปัตตานี โดยเป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการดูแล และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง
ประกอบด้วยผู้ป่วยระยะท้าย ครอบครัวผู้ดูแล และบุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัดปัตตานี เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การประเมินเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์
สถานการณ์พบว่าผู้ป่วยระยะท้ายในพื้นที่ชนบทของจังหวัดปัตตานีมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้านการ
ดูแลแบบประคับประคอง โดยมีปัญหาด้านทรัพยากรและบุคลากรที่จำกัด รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้น
สอดคล้องกับแนวทางของ WHO โดยเน้นการดูแลแบบองค์รวมที่ครอบคลุมด้านกาย จิตใจ สังคม และจิต
วิญญาณ รูปแบบนี้ประกอบด้วยการดูแลที่ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปยังบ้าน โดยมีการสนับสนุนจาก
ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ การทำงานร่วมกันในรูปแบบทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยให้การ
ดูแลมีความครบถ้วนและต่อเนื่อง และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนา
ความรู้และทักษะของผู้ดูแล 2) การจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ 3) การสื่อสารและประสานงาน
ระหว่างทีมแพทย์และครอบครัว 4) การสนับสนุนด้านจิตใจและสังคม และ 5) การใช้เทคโนโลยีในการ
ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การประเมินผลพบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจในระดับสูงต่อการดูแล
ทางการแพทย์และความสะดวกในการติดต่อทีมดูแล การอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ดูแลช่วยเพิ่มความรู้
ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นมีความ
สอดคล้องกับแนวทางของ WHO โดยเฉพาะด้านการจัดการอาการปวดและการดูแลด้านจิตใจ
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แบบประคับประคอง จังหวัดปัตตานี
Abstract
This research aims to develop a palliative care model for terminally ill patients
based on the guidelines of the World Health Organization (WHO) in Pattani Province. The
research and development process was divided into three phases: situation analysis,
development of the care model, and evaluation. The sample group consisted of
terminally ill patients, their families, caregivers, and healthcare professionals in Pattani
Province. The research tools included questionnaires, qualitative assessments, and
interviews. The results revealed that the situation analysis indicated limitations in
accessing palliative care services for terminally ill patients in rural areas of Pattani
Province due to insufficient resources and personnel. The developed care model aligned
with the WHO guidelines, emphasizing holistic care covering physical, emotional, social,
and spiritual aspects. This model featured continuous care from the hospital to the
home, supported by family, community, and healthcare professionals. The
interdisciplinary team approach ensured comprehensive and continuous care. The
developed model included five key components: 1) development of caregivers’
knowledge and skills, 2) management of medical resources, 3) communication and
coordination between medical teams and families, 4) psychological and social support,
and 5) the use of technology in palliative care. The evaluation showed that patients and
their families expressed high satisfaction with medical care and the ease of contacting
the care team. Training and educating caregivers significantly improved their knowledge
and understanding of end-of-life care. Furthermore, the developed care model was
found to be consistent with WHO guidelines, particularly in pain management and
psychological care.
Keywords: Model development, Palliative care, Terminally ill patients, Pattani Province