ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ
ผู้วิจัย ธัญกาญจน์ ภาสตโรจน์
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21
ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ
ผู้วิจัย นางธัญกาญจน์ ภาสตโรจน์
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ และวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ 2) เพื่อสร้างรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ และ4) เพื่อประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
สำหรับการศึกษาความต้องการจำเป็นนั้นผู้วิจัยศึกษาจากครู คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนการศึกษาแนวทางในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) 3 โรงเรียน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบ
โดยการยกร่างรูปแบบจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1
และตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของร่างรูปแบบ
สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่
3 การทดลองใช้รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ผู้ให้ข้อมูล ครูโรงเรียนบ้านโพนค้อ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ผู้ให้ข้อมูล ครูโรงเรียนบ้านโพนค้อ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.
ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ เรียงลำดับดังนี้
ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านรูปแบบความคิด ด้านบุคคลที่มีความรอบรู้ และด้านการคิดเป็นระบบ สถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการโดยยึดหลักโรงเรียนเป็นฐาน
(SBM) หลักธรรมาภิบาล และดำเนินงานด้วยหลักวงจรคุณภาพ (PDCA) ในการทำงานอย่างเป็นระบบในทุกขั้นตอน และแนวทางในการจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการของรูปแบบ
องค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์
2. ผลการยกร่างรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย
หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และหลักธรรมาภิบาล
องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน องค์ประกอบที่
3 วิธีดำเนินการของรูปแบบ โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1)
การวางแผน (P: Plan) 2) การดำเนินการ (D:
Do) ได้แก่ ด้านบุคคลที่มีความรอบรู้
ด้านรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม
ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการคิดเป็นระบบ
และด้านการใช้เทคโนโลยี 3) การกำกับติดตาม (C: Check) และ4) การปรับปรุงพัฒนา (A: Action) องค์ประกอบที่ 4
ผลลัพธ์ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และความพึงพอใจ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ อยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ รองลงมา องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 ใน
8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ปีการศึกษา 2566 มีร้อยละคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นทุกชั้นเรียน ชั้นเรียนที่มีร้อยละคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด
คือ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รองลงมา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
และมีร้อยละคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นทุกรายวิชา วิชาที่มีร้อยละคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด
คือ วิชาภาษาไทย รองลงมา วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาการงานอาชีพ
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาคณิตศาสตร์ วิชาศิลปะ และวิชาภาษาอังกฤษ ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 ใน 8 ข้อ พบว่า ปีการศึกษา 2566 มีร้อยละผลการประเมินการประเมินเพิ่มขึ้นทุกชั้นเรียน เมื่อพิจารณารายชั้นเรียน
ค่าร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสูงสุด คือ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รองลงมา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่
3 และพิจารณาร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายข้อ
พบว่า ร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกข้อ ข้อที่มีร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงสุด
คือ ข้อ 1 รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์ รองลงมา
ข้อ 2
ซื่อสัตย์สุจริต
ข้อ
3 มีวินัย ข้อ 6 มุ่งมั่นในการทำงาน
ข้อ
4 ใฝ่เรียนรู้ ข้อ 5 อยู่อย่างพอเพียง ข้อ 8 มีจิตสาธารณะ
และข้อ
7 รักความเป็นไทย
และผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่
21
ของโรงเรียนบ้านโพนค้อ อยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ รองลงมา องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ,
องค์การแห่งการเรียนรู้, คุณภาพผู้เรียน, ศตวรรษที่ 21