Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด้วย MORAL Model ของโรงเรียนวัดทองแท่งนิสยาราม

ผู้วิจัย สมพร พิบูลย์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 4 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด้วย MORAL Model ของโรงเรียนวัดทองแท่งนิสยาราม มีรูปแบบการบริหารจัดการที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิตและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นพลเมืองดีของชาติ มีเจตคติที่ดีต่อบ้านเมือง และมีอาชีพสุจริต เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ รวมไปถึงประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ผู้จัดทำผลงานจึงนำทฤษฎีการบริหาร PDCA  คิดค้นโดย Dr. Edwards W. Deming และทฤษฎีระบบ (System Theory) แนวคิดของ วอน เบอรทาแลนฟ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบนวัตกรรม MORAL Model ทำให้ได้นวัตกรรมรูปแบบการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนทำให้การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมบรรลุตามเป้าหมายโดยมีรายละเอียดของการดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ดังนี้

การดำเนินงานตามกิจกรรม

 ขั้นตอนการวางแผน (Plan)

          ศึกษาปัจจัยนำเข้า (Input ) ได้แก่ นโยบายโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๑ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำให้มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ตามขั้นตอนดังนี้

1) จัดประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียน สร้างความรู้ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็นเพื่อความมั่นใจในการสมัครใจทำงานและตัดสินใจร่วมกัน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2) แต่งตั้งและมอบหมายงานให้คณะทำงานรับผิดชอบ ในการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และการปรับปรุงแผนจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีวาระการทำงาน 1 ปี

3) สรุปข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยภายใน ได้แก่ จุดแข็ง (ปัจจัยส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ) และจุดอ่อนหรือข้อด้อย รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาส (สภาพภายนอกที่เอื้อให้โรงเรียนมีผลงาน เช่น ประชาชนต้องการให้ลูกหลานมีอาชีพ โรงเรียนจึงควรให้ความรู้ด้านทักษะอาชีพ เป็นต้น) และสภาพภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของโรงเรียน เช่น เศรษฐกิจไม่ดี ชุมชนยากจนมาก เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาทบทวน วิสัยทัศน์ ปรัชญาต่างๆ ของโรงเรียนด้วย เพื่อให้โรงเรียนรู้จักตนเองและเลือกใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงของโรงเรียน     

          4) จัดเตรียมผู้เข้าประชุมระดมสมอง โดยจัดกลุ่มผู้เข้าประชุมที่มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น 1) กลุ่มครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา 2) กลุ่มนักเรียนแกนนำ 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น การพิจารณาจัดประชุมแต่ละกลุ่มที่มีพื้นฐานหน้าที่ความรับผิดชอบใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ในการมีความรู้ ความเข้าใจใกล้เคียงกัน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการพัฒนาและพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน นอกจากนี้ ขนาดของกลุ่ม ควรมีปริมาณที่ช่วยให้ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้ในแผนงาน

5) จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้ในแผนงานตามความจำเป็น สำหรับการจัดหาวิทยากร ขอให้พิจารณาตามความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน


ขั้นตอนการตอนดำเนินการตามแผน (Do)

เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้วย MORAL Model มีการกำหนดแนววิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เน้นการพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนให้สามารถใช้นวัตกรรม มีการทำงานเป็นทีม การนำรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้วย MORAL Model ไปใช้ในโรงเรียนเป็นการดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานแบบ P-D-C-A อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับรูปแบบของนวัตกรรมการบริหารที่กำหนดไว้โดยมีกระบวนการ (Process) ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้ 

M : Moral ideology ส่งเสริมให้มีอุดมการณ์คุณธรรม

โรงเรียนได้ดำเนินการขับเคลื่อนตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมโดยปลูกฝังให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนมีอุดมการณ์คุณธรรม โดยการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลักษณ์ โดยสอดแทรกความรู้คู่คุณธรรมลงสู่การจัดการเรียนการสอน รวมจนถึงสอดรับกับนโยบายสำคัญจากหน่วยงานเหนือไม่ว่าจะเป็นระดับเขตพื้นที่ สพฐ, กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล อาทิ เช่น การดำเนินการโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ที่ต่างฝ่ายปรารถนาอยากจะเห็นผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาการศึกษา นักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมอัตลักษณ์ ซึ่งทางโรงเรียนได้ประชุมระดมสมองจึงได้ คุณธรรมเป้าหมายที่จำเป็นที่ทุกฝ่ายพึงต้องมี ต้องการให้เกิดขึ้นเป็นลำดับสำคัญก่อนนั้น มี 3 ประการ คือ มีจิตอาสา พัฒนาวินัย ใส่ใจความพอเพียง ตามตารางดังนี้

คุณธรรมเป้าหมาย

พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก

ผู้บริหาร

ครู

นักเรียน

มีจิตอาสา

-ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

-เสียสละเพื่อส่วนร่วม

-รู้จักมีจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนและชุมชน

พัฒนาวินัย

- ปฏิบัติตามระเบียนทางราชชการ

-มาทำงานตรงเวลา

-ปฏิบัติตามระเบียนทางราชการ

-เข้าแถวเป็นระเบียบ

-เดินเป็นแถว

-แต่งตัวเรียบร้อย

-ทิ้งขยะเป็นที่

ใส่ใจความพอเพียง

-มีแผนงานการใช้งบประมาณที่ชัดเจน

-ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

-ใช้จ่ายอย่างประหยัด

-ใช้สื่อการสอนอย่างคุ้มค่า

-เสียสละเพื่อส่วนร่วม

-รู้จักออมเงิน

-ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง

 


อีกทั้ง ทางโรงเรียนได้ดำเนินการขับเคลื่อนตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมครอบคลุม ดังนี้ การจัดค่ายคุณธรรม การจัดกิจกรรมคืนสู่ห้องเรียน และดำเนินกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย เช่น กิจกรรมศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมวันสำคัญชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ กิจกรรมสภานักเรียน กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน กิจกรรมเวรทำความสะอาด กิจกรรมการออมเงิน เป็นต้น

O : Oblge ส่งเสริมให้มีความกตัญญูกตเวที

          ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมที่สำคัญสำหรับมนุษยชาติ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในสังคมมนุษย์และเป็นบ่อเกิดแห่งความรับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ และเป็นคุณธรรมเบื้องต้นของมนุษยธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นเครื่องทำลายความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของความดี เป็นเหตุให้เกิดความสุขุม รอบคอบ ความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ โรงเรียนวัดทองแท่งนิสยารามส่งเสริมให้นักเรียนมีความกตัญญูกตเวทีผ่านกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันพ่อ กิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณ ยกย่องเชิดชูบุพการี ครูอาจารย์ และพระพุทธศาสนา

R : Responsibility  ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ

ส่งเสริมให้นักเรียนมีการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจไม่หวังผลตอบแทน เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โรงเรียน ชุมชน สังคม มองเห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วรู้สึกอยากเข้าไปมีส่วนในการช่วยเหลือสังคมในเรื่องต่างๆ ที่เป็นปัญหาหรือเกิดความเดือดร้อน โดยรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ในความรับผิดชอบ พร้อมลงมือปฏิบัติร่วมช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่สังคมของเรา ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนาจะร่วมและมีส่วนช่วยเหลือสังคม นึกถึงพลังของตนว่าสามารถร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในสังคมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลตอบแทน การดำรงชีวิตในสังคมที่มีการช่วยเหลือกันถึงแม้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราไม่ได้เดือดร้อนด้วย แต่ก็เต็มใจที่จะแบ่งปันให้การช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน นั่นคือ การแสดงความมีจิตสาธารณะนั่นเอง    

คุณลักษณะเหล่านี้สามารถใช้กระบวนการคิดผ่านกิจกรรมสภานักเรียน ผู้ที่อาสาเข้ามาทำงาน สภานักเรียน เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติ ด้วยการเอาใจใส่ดูแลเป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยหลีกเลี่ยง การใช้หรือกระทำที่ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อของส่วนรวมถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแล การเคารพสิทธิในการใช้สาธารณะสมบัติของผู้อื่น มุ่งปฏิบัติเพื่อส่วนรวมในการดูแลรักษาของส่วนรวม เช่น การทำหน้าที่ดูแลความสะอาดบริเวณโรงเรียน อาคารเรียน ควบคุมกิจกรรมหน้าเสาธง ดูแลความสงบเรียบร้อยของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ ดูแลรักษา สาธารณสมบัติของโรงเรียน ตรวจเขตรับผิดชอบ ตรวจความสะอาดห้องเรียน ควบคุมการเข้าแถว การเดินแถวรวมไปถึงการรวมกลุ่มจิตอาสาร่วมกับชุมชน

กิจกรรมสภานักเรียนมีการประชุมชี้แจง กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม การเลือกตั้งประธาน นักเรียน กรรมการสภานักเรียน เป็นแกนนำในการทำงานสภานักเรียน โรงเรียนให้ความรู้กับคณะกรรมการสภานักเรียนให้เป็นสภานักเรียนคุณธรรม โดยสภานักเรียนร่วมกันกำหนดแนวกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมในโรงเรียนการร่วมกันกำหนดข้อปฏิบัติการให้รับรู้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ความไม่พอเพียง ความเห็นแก่ตัว การขาดระเบียบวินัย ตรวจสอบ กำกับดูแลสอดส่องพฤติกรรมของเพื่อนนักเรียน การสร้างเครือข่ายนักเรียนให้เข้มแข็ง ฝึกระเบียบวินัย ให้มีความรับผิดชอบตามวัย จึงกำหนดให้มีกิจกรรมในการพัฒนาสภานักเรียนเพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างคุณลักษณะของนักเรียน โดยใช้สภานักเรียนเป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มีการตรวจเขตรับผิดชอบ กำกับดูแล นักเรียนระหว่างเดินแถว รับประทานอาหารและทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีการประชุมสภา สรุปการทำงานและปรับวิธีการทำงานในทุกเดือน

A: At sufficient ส่งเสริมให้อยู่อย่างพอเพียง

ส่งเสริมให้ครูและนักเรียน ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม มีความพอเหมาะ พอควร พอเพียง ใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินต่างๆ ทั้งของตนเองและของส่วนรวม อย่างประหยัด คุ้มค่า เก็บรักษาเพื่อใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป เช่น ปิด-เปิดไฟ พัดลม เครื่องปรับอากาศหลังการเลิกใช้งานทันที ครูต้องเป็นตัวอย่างในการทิ้งขยะได้ถูกที่ คัดแยกขยะได้ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าจากของเหลือใช้ เช่น การทำสื่อของใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ ทำสื่อการเรียนการสอนจากวัสดุเหลือใช้ ครูใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลงานให้คุ้มกับการลงทุน ไม่ใช้ของฟุ่มเฟือย ใช้ทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิดพลาด และกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนอีกด้วย

L : Loyalty ส่งเสริมให้มีความซื่อสัตย์

เน้นให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักรู้ เข้าใจ เกิดแรงบันดาลใจเปลี่ยนแปลง ความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรม และคิดอย่างมีเหตุผล ซึมซับคุณค่าความดี ประพฤติตรงต่อตนเอง และผู้อื่น ทั้งกาย วาจา และใจ สร้างความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ภูมิใจในการทำความดี รังเกียจคนโกงและพร้อมที่จะไม่เป็นคนโกง พูดความจริง ให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้อื่น ความคิดที่ดีในการอยู่ค่าย คำพูดดีที่ตั้งใจจะพูดและการทำความดีที่ตั้งใจจะทำ มีความเชื่อว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน โดยเริ่มจากการฝึกให้เด็ก เคารพกฎกติกาพื้นฐานง่ายๆ เช่น ไม่โกหก เข้าแถวรับอาหาร จ่ายเงิน-ทอนเงิน ซื้อของด้วยตนเอง ส่งการบ้านตามเวลา การออมเงินตามสัจจะการออม ไม่นำสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขีดเขียนลงบนโต๊ะเรียน เป็นต้น เพื่อโตขึ้นจะได้ปฏิบัติตามกฎของสังคมอย่าง ไม่มีปัญหาและมีความกล้าหาญทางจริยธรรมควบคู่กันไป สร้างความตระหนักในคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต โดยการจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม เป็นต้น

  ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบผลผลิต (Output)

จากการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ด้วย MORAL Model ภายใต้วงจร PDCA โดยยึดวัตถุประสงค์ที่กำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุล ประเมินพฤติกรรมนักเรียนตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ของโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประเมินความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและสรุปผลการประเมิน ดังนี้

ผู้บริหารมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการดำเนินงานเป็นรายกิจกรรม

คุณลักษณะ/กิจกรรม

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

เครื่องมือในการตรวจสอบ/ประเมิน

ผู้รับผิดชอบ

ความพอเพียง

      กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพ

- ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

- ความพึงพอใจของนักเรียน

รายงานโครงการ/ แผ่นพับ/ ชิ้นงาน/ รูปภาพ/ฐานเรียนรู้/ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริหาร, คณะครู, นักเรียน

ความกตัญญู

      กิจกรรมวันสำคัญชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์

 

- ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

- ความพึงพอใจของนักเรียน

รายงานโครงการ/ รูปภาพ/ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริหาร, คณะครู, นักเรียน

ความซื่อสัตย์สุจริต 

      กิจกรรมสภานักเรียน

- ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

- ความพึงพอใจของนักเรียน

รายงานโครงการ/  รูปภาพ / เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริหาร, คณะครู, สภานักเรียน

ที่อยู่อ้างอิง (URL) : https://publish.vichakan.net/show/848
จำนวนการเข้าชม : 58 ครั้ง

Stats
Copyright © 2017-2024 Vichakan.net. All rights reserved.