Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้าน สติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3

ผู้วิจัย นางปนัดดา ชาลี

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 12 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ครูผู้สอนเด็กปฐมวัยควรจัดประสบการณ์ให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และสอดคล้องเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ยึดหลักว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษาที่เหมาะสมจึงสามารถที่จะช่วยพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 4 ประการคือ  1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  4) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้  ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ โดยการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์  เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 5 คน และการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม  ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์  โดยร่างรูปแบบตามข้อมูลที่ได้รวบรวมมาแล้วในระยะที่ 1 และประเมินร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  และประเมินร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษา แบบเรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระยะที่ 3  การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ประชากรได้แก่  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  3 โรงเรียนเทศบาลขามใหญ่บ้านหนองไผ่ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน  กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาลขามใหญ่บ้านหนองไผ่ สังกัดกองการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 15 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบทดสอบความพร้อมทางการเรียน แผนการจัดประสบการณ์  และแบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์  ระยะที่ 4  การประเมินผลความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบประเมินผลความพึงพอใจ

          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

          1.จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดประสบการณ์ ครูผู้สอนเด็กปฐมวัย มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นของครู ส่วนใหญ่มีความต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ใช้ในโรงเรียน

          2.รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด และประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  เท่ากับ 84.15 /85.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

          3.การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ระดับความเหมาะสมมากที่สุด ด้านกระบวนการ (Process) ระดับความเหมาะสมมากที่สุด  ด้านผลลัพธ์ (Output) ผลการพัฒนาความพร้อมทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยหลังสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ 12.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.25

          4.การประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

          โดยสรุป  รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนเด็กปฐมวัย นำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษานี้ไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาที่มีการจัดประสบการณ์เรียนรู้กิจกรรมเกมการศึกษาแบบ เรียนปนเล่น เน้นกระบวนการ ประสานความร่วมมือ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา หรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3