Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ผู้วิจัย นางสาววรารัตน์ กล่อมเสียง

ปีการศึกษา 2562

วันที่เผยแพร่ 19 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้(1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา ชายแดนไทย และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 9 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย พบว่า การให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง มอญ ลาว ไทยพลัดถิ่น ไทยสิงขร ได้มีความ เสมอภาคในการเรียนรู้ได้รับรู้เข้าใจถึงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนที่มีความแตกต่างแต่มีการยอมรับใน ความแตกต่าง นักเรียนมีความรักความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ สื่อสารเป็น และสามารถประกอบอาชีพ ได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันภายใต้ความ หลากหลายทางวัฒนธรรม และ 2) แนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนมี 7 แนวทาง องค์ความรู้จากการวิจัย คือ (1) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (2) ด้าน ภาวะผู้นำของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรมศึกษา (3) ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในบริบทพหุ วัฒนธรรม (4) ด้านคุณลักษณะของครูในบริบทพหุวัฒนธรรม (5) ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารในบริบทพหุ วัฒนธรรม (6) ด้านหลักสูตรที่สอดคล้องในบริบทพหุวัฒนธรรม และ (7) ด้านการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาใน บริบทพหุวัฒนธรรม คำสำคัญ: แนวทางการจัดการศึกษา; พหุวัฒนธรรม; สถานศึกษาชายแดนไทย 2 Abstract The objectives of this research are (1) to study the state of multicultural education management of Thai border educational institutions; and (2) to study the approach to multicultural education management of Thai border educational institutions. This is a qualitative research. The research instrument is a structured in- depth interview and focus group discussion. The key informants are divided into 2 groups: 1) 9 administrators and related people and 2) 10 experts. The statistics used in data analysis are content analysis. The results reveal that 1) the state of multicultural education management found that it provides educational opportunities for Thai, Burmese, Karen, Mon, Laotian, Thai diaspora, Thai Singkhon students, to have equality in learning, to recognize the differences between members of communities, but accept all differences. Students have a good relationship with each other. This enables students to be able to read, write, communicate, and have a career for living in society happily with interdependence under cultural diversity. 2) There are 7 approaches to multicultural education management at border schools. The body of knowledge indicates that (1) relationship with communities and related agencies; (2) leadership of administrators in the context of multicultural education; (3) promotion of teaching and learning in multicultural context; (4) characteristics of teachers in a multicultural context; (5) characteristics of administrators in a multicultural context; (6) a consistent curriculum in a multicultural context; and (7) a network of educational institutions in a multicultural context. Keywords: Educational Management Guideline; Multicultural Education; Thai Border Educational Institution บทนำ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มีวิสัยทัศน์ให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืน ของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปีก แผ่น มีความมั่นคงทางสังคม และการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความ มั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของ สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสาน สอดคล้องกันด้านความมั่นคงใน ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561) สอดคล้องกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560) โดยกระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจ 3 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยสงเสริมสนับสนุน และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุก ประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและ ประสานงาน การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้ง การศึกษาเป็นกระบวนการ สำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมสร้างความ เข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ เพื่อบรรเทา ป้องกัน และเยียวยาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีเข้ามาใน อนาคต ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทยตามรัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน (ธัญวดี กำจัดภัย, 2562) การพัฒนา คนไทยให้มีคุณภาพต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหาร งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปโดยยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือสำคัญใน การกำหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายในการปฏิบัติ ในการบริหารสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ผู้เรียนผู้บริหารโรงเรียนในฐานะเป็นผู้บริหารสูงสุด ตามบทบาทหน้าที่ในการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จและ มีประสิทธิภาพ นั่นคือ ผู้บริหารจะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการบริหารขึ้นอยู่กับระบบการ บริหารงานที่ดีและรูปแบบการบริหารงานว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลมาจัดระบบในการบริหารจัดการโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยการบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานตามภารกิจของสถาศึกษา ได้แก่ การ บริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณและการบริหารงานทั่วไป (จรุณี เก้า เอี้ยน, 2561: 28) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดชายแดนไทยติดกับเขตแดนพม่า และมีสถานศึกษาที่ติดชายแดน ไทย ส่งผลทำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จึงต้องมีแนวทางการบริหาร จัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม และมีกลุ่มนักเรียนที่จัดเป็นกลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธ์ ที่ต้องการพัฒนาด้าน การศึกษา อาชีพ การสนับสนุนการส่งเสริมการแสดงออกทางศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ เพื่อเป็นการ ให้โอกาสการเท่าเทียม การเสมอภาค เป็นธรรมตามนโยบายของรัฐบาลสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น สามจังหวัดที่มีความแตกต่างทางพหุวัฒนธรรม ซึ่งในพื้นที่มีคนไทยที่นับถือศาสนา อย่างหลากหลาย ทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ การดำรงชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกัน ทั้งในด้านของเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ค่านิยมที่มีความแตกต่างกันส่งผล ให้การบริหารจัดการทั้งของภาครัฐและ เอกชนต้องมีการศึกษาถึงภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างละเอียด เพื่อ การพัฒนาการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป (ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย, 2562) สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย มีความเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในพื้นที่ และมี สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการทั้งด้านการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ดังนั้น การ จัดการศึกษาจึงต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของการจัดการศึกษา รวมทั้งการใช้องค์ ความรู้หลายด้านที่เข้าถึงสถานการณ์ทางการศึกษาทั้งระบบโดยปราศจากอคติ ซึ่งเป็นการพัฒนาการจัด 4 การศึกษาในชายแดนไทย การใช้องค์ความรู้เหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กระบวนการศึกษาวิจัย การศึกษา ปัญหาในอดีตอย่างลึกซึ้ง ต้องเข้าใจสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรง คือความรุนแรงต่อการโต้ตอบ นโยบายด้านการศึกษาของรัฐในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร ทางการศึกษา นักเรียน และสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ทางด้านศาสนา และหากพิจารณา ปัจจัยแวดล้อม ทางสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่น นับได้ว่าปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพ การศึกษาของเยาวชน ประกอบกับปัญหาการจัดการศึกษาของรัฐที่มีโดยตลอด สำหรับพื้นที่แห่งนี้ มักมีสาเหตุ มาจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ประสานนโยบาย และผู้รับนโยบายไปจนถึงเยาวชนท้องถิ่น ในฐานะ ผู้รับบริการทางการศึกษา และปัญหาความยุติธรรมต่อการจัดการศึกษา นโยบายการศึกษาของรัฐจึง จำเป็นต้องพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สังคม วัฒนธรรมของผู้คนในชายแดนไทย (นิเลาะ นิเฮง, 2562) บริบทของการจัดการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวเต็มไปด้วยสภาพปัญหาที่ยากลำบาก และเป็นอุปสรรคต่อ การจัดการศึกษาในพื้นที่ ปัญหาที่ยากลำบากของพื้นที่ดังกล่าวมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการแก้ไข อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลอย่าง มากต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ นอกจากปัญหาการขาดขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ ปัญหาความหลากหลายของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐหรือเอกชนสอน ศาสนา ซึ่งเกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการเทียบวุฒิ การศึกษา เนื่องจากหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้นักเรียนต้องเรียนซ้ำ เป็นต้น ส่วนปัญหาอีกประเด็นหนึ่งคือ โอกาสทางการศึกษา ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจาก ผู้ปกครองมีฐานะยากจน มีความรู้น้อยและไม่เห็นความจำเป็นในส่งบุตร หลานเข้าเรียน เพราะนักเรียนจบมาก็ต้องทำสวนและประกอบอาชีพที่บ้านเป็นหลัก นอกจากนี้ ปัญหาด้าน ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กยังขาดความพร้อมและ ปัจจัยพื้นฐาน และประกอบกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการเดินทางเข้าไปนิเทศติดตาม ทำได้น้อยมาก ปัญหาการขาดปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี เป็นผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหาร และการ พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และปัญหาที่มีความสำคัญที่สุด คือคุณภาพการศึกษาในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นจุดอ่อนสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขและกลายเป็นความยากลำบากในการดำเนินการเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษา นักเรียนยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในทุกวิชา โดยเฉพาะผลการสอบ O-NET ของ นักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555-2558 ที่มีผลการสอบ O-NETอยู่รั้งท้าย 10 อันดับของ ประเทศ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การขาดแคลน ครู การขาดแคลนสื่อ และเทคโนโลยี ที่ช่วยส่งเสริมการ เรียนรู้ การมีเวลาในการจัดการเรียนการสอน น้อยกว่าภูมิภาคอื่น เป็นต้น (ศูนย์ประสานงานและบริหาร การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2560) จึงเห็นได้ว่า การศึกษาในชายแดนไทยมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพราะ นอกจากจะต้องจัดการศึกษาในชายแดนไทยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดแล้ว ยังต้องเร่ง กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมและอย่างหลากหลาย อีกทั้งยังต้องเร่ง พัฒนากำลังคนใน 5 ชายแดนไทยให้มีองค์ความรู้ที่จำเป็น มีทักษะการคิด ทักษะการประกอบ อาชีพ และมีความสามารถในการ แก้ปัญหาให้กับตนเอง สังคมและส่วนรวมได้ (จรุณี เก้าเอี้ยน, 2561) ฉะนั้น ในการพัฒนาคนในชายแดนไทย ให้มีคุณลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ให้ มีความชัดเจน ที่สำคัญมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดทิศทาง การพัฒนากำลังคนบนความต้องการของ ประเทศ มิใช่จัดการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้การจัดการศึกษาต้องมีความ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนอีกด้วย อย่างไรก็ตามความท้าทายจากสภาวการณ์ดังกล่าวต้องอาศัยปัจจัยขับ เคลื่อนที่สำคัญเช่น วิสัยทัศน์ ความเป็นมืออาชีพ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสำคัญ การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนจึงถือเป็นบทบาทที่หนักและสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องมีการใช้ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ สร้างความเข้าใจ การยอมรับ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สถานศึกษาของ ข้าราชการครู ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหาร สถานศึกษา ให้ สอดคล้องกับบริบทในสามจังหวัดและความอยู่รอดต่อไปได้ (วิกันดา โรจนภาพงศ์, 2561) จากความเป็นมาของปัญหาและปัญหา รวมถึงผลการศึกษาวิจัยในเรื่องของการบริหาร จัดการใน บริบทที่กล่าวมาข้างต้น มุ่งเน้นการบริหารจัดการในส่วนของโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนเป็น หลัก แต่ในส่วน ของการบริหารสถานศึกษาของรัฐบาลที่อยู่ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยังขาดองค์ความรู้สำคัญเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนา คุณภาพผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน รวมถึงขวัญกำลังใจในการทำงานของครู ความ ร่วมมือจากชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหาร สถานศึกษาร่วมกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจการจัดการศึกษาแบบพหุ วัฒนธรรมและแนวทางการจัดการศึกษาของพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมในสถานศึกษาชายแดนไทยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ผู้วิจัยจึงทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็น ประโยชน์ต่อสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู 6 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทยสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2. เพื่อศึกษาแนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ระเบียบวิธีวิจัย 1. รูปแบบการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ขอบเขตในการวิจัย ได้แก่ ขอบเขตเนื้อหา ผู้วิจัยได้ บูรณาการหลักการ แนวคิด บทความ เอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบทและสภาพปัญหาในการ จัดการศึกษาของ การบริหารสถานศึกษา และพหุวัฒนธรรมศึกษา การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุ วัฒนธรรมศึกษาในชายแดนไทย ขอบเขตด้านพื้นที่ใช้สถานศึกษา 3 แห่ง ได้มาโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง คือ 1) โรงเรียนด่านสิงขร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง 2) โรงเรียนบ้านทุ่งตาแก้ว ตั้งอยู่ที่อำเภอทับสะแก 3) โรงเรียน มะเดื่อทอง ตั้งอยู่ที่อำเภอทับสะแก ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ ขอบเขตระยะเวลา ได้ดดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมีนาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2565 2. ผู้ให้ข้อมูลหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน และผู้ปกครอง จำนวน 3 คน รวมทั้งหมดจำนวน 9 คน กลุ่ม 2 คือ ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน ผู้อำนวยการ สถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านชาติพันธุ์ จำนวน 2 คน รวม ทั้งหมด จำนวน 10 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1 ใช้แบบ สัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ในประเด็นเกี่ยวข้องกับ สภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของ สถานศึกษาชายแดนไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 สำหรับ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน กับแบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ใช้การสนทนากลุ่มย่อยในประเด็นแนวทาง จัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 สำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน 4. เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1 สัมภาษณ์ ผู้ อำนวนการสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน กับแบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 สัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนและ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านชาติพันธุ์ 5. การรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 แหล่ง 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของ สถานศึกษาชายแดนไทย โดยการรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล หลัก กลุ่ม 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครู จำนวน 3 คน ผู้ปกครอง 3 คน เป็นจำนวน 9 คน จาก สถานศึกษาทั้งหมด 3 สถานศึกษา ประกอบด้วย (1) โรงเรียนด่านสิงขร (2) โรงเรียนบ้านทุ่งตาแก้ว 7 (3) โรงเรียนบ้านมะเดื่อทอง และ 2) ศึกษาแนวทางในการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา ชายแดนไทย โดยการรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่ม 2 คือ ผู้อำนวยการ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน 6. การวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยเริ่มต้นเก็บข้อมูล หลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูล คือการ ลดทอนข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากภาคสนาม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของข้อมูลจนได้แบบแผน ของความเชื่อมโยงที่อธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้ดีที่สุด ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลทุกระยะแล้วนำมาทำการ วิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนา ผลการวิจัย 1. ผลศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทยสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า บริบทรอบโรงเรียน และการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม บริบทของโรงเรียนบ้านมะเดื่อทอง โรงเรียนบ้านทุ่งตา แก้ว โรงเรียนด่านสิงขร สภาพพื้นที่ติดตะเข็บชายแดน ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา มีภูเขากระจัดกระจายทุกแห่งจัดอยู่ในพื้นที่พิเศษเฉพาะที่มีความยากลำบากในการบริหาร จัดการการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพประชากรวันเรียนกลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มที่ด้อยโอกาส กลุ่มที่อยู่ พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โรงเรียนบ้านมะเดื่อทองเป็นสถานศึกษาขยายโอกาส นักเรียนส่วนใหญ่ เป็นไทย และ พม่า โรงเรียนบ้านทุ่งตาแก้ว จะมีเด็กไทย พม่า ลาว มอญ และไทยพลัดถิ่น เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง โรงเรียนด่านสิงขรจะมีนักเรียน ไทย พม่า กะเหรี่ยง และมีชื่อที่เรียกกันว่าไทยสิงขร โรงเรียนด่านสิงขรเป็น โรงเรียนขนาดเล็ก การจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ นโยบายการจัดการศึกษา ใช้นโยบาย การกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้กับเด็กต่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม ได้มีโอกาสเข้าเรียน นักเรียนกลุ่มชาติพันธ์ ที่มาเรียนจัดเป็นกลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธ์ ที่ต้องการพัฒนาด้านการศึกษา อาชีพ การสนับส นุนการ ส่งเสริมการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ เพื่อเป็นการให้โอกาสเท่าเทียม เสมอภาค เป็น ธรรมตามนโยบายของรัฐบาลสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การให้โอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าเรียน เน้นให้นักเรียน ชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง มอญ ลาว ไทยพลัดถิ่น ไทยสิงขร ได้มีความเสมอภาคในการเรียนรู้ ได้รับรู้เข้าใจถึงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนที่มีความแตกต่าง แต่มีการยอมรับในความแตกต่าง นักเรียน มีความรักความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ สื่อสารเป็น และสามารถประกอบ อาชีพได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งเพราะมีบทบาทในการช่วยจัดการศึกษาในการดูแลเด็กนักเรียน ในช่วงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา เช่นสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CIVID19) ซึ่งส่งผลให้มีเด็กกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ได้มาเรียนกับครูที่โรงเรียนต้องมีการสอนเสริม ปัญหาอุปสรรคการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม จากความแตกต่าง ทางด้านภาษา การให้การบ้านเด็กผู้ปกครองเด็กกลุ่มชาติพันธ์ไม่สามารถช่วยเด็กในเรื่องการอ่าน และการทำ 8 ความเข้าใจความหมายของคำสั่งได้โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CIVID-19) ที่เด็กจะต้องเรียนอยู่ที่บ้านกับผู้ปกครอง 2. ผลศึกษาแนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 จะพบดังรายละเอียดต่อไปนี้ 9 ภาพ 1 แสดงองค์ประกอบของแนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จากภาพ 1 แสดงองค์ประกอบของแนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา ชายแดนไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีรายละเอียด ดังนี้ แนวทางที่ 1 ความสัมพันธ์กับชุมชน และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ความสัมพันธ์ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการสถานศึกษาในการมีส่วนร่วมบริหารสถานศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและประเมินผลใน การ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป ประเด็นที่ 2 ความสัมพันธ์ของผู้ปกครอง ชุมชน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือใน การจัดการศึกษา และ ประเด็นที่ 3 สถานศึกษาเปิดโอกาสให้เกิด ความสัมพันธ์ร่วมกันชุมชนในการบริหารสถานศึกษา เพื่อจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ แนวทางที่ 2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรมศึกษา ประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ภาวะผู้นำในการเป็นผู้สร้างและให้โอกาส ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาศึกษาต่อและพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง การสนับสนุน งบประมาณให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ารับการพัฒนาทุกมิติ มีการให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง และชุมชน จึงจะสามารถพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีความยั่งยืนได้ประเด็นที่ 2 ภาวะผู้นำในความ มุ่งมั่น ตั้งใจ มีความรอบคอบในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และ ประเด็นที่ 3 ภาวะผู้นำในการ บริหารงานตามสถานการณ์ ความสัมพันธ์กับชุมชนและ หน่วยงานที่มีสวนเกี่ยวของ ภาวะผู้นำของผู้บริหารใน บริบท พหุวัฒนธรรมศึกษา ด้านหลักสูตรที่สอดคล้องใน บริบทพหุวัฒนธรรม คุณลักษณะของผู้บริหารใน บริบทพหุวัฒนธรรม การสงเสริมการจัดการเรียน การ สอนในบริบทพหุ วัฒนธรรม ด้านการสร้างเครือข่าย สถานศึกษาในบริบทพหุ วัฒนธรรม คุณลักษณะของครูในบริบท พหุวัฒนธรรม แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของ สถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 3 ประเด น 3 ประเด น 2 ประเด น 2 ประเด น 2 ประเด น 3 ประเด น 10 แนวทางที่ 3 การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในบริบทพหุวัฒนธรรมประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้ประเด็นที่ 1 สถานศึกษาผู้สนับสนุนส่งเสริมให้ใช้หลักสูตรท้องถิ่นให้ สอดคล้องกับแนวทางพหุวัฒนธรรม ศึกษา กับ ประเด็นที่ 2 ครูผู้ส่งเสริมและพัฒนา และ จัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพขึ้นมาได้ แนวทางที่ 4 คุณลักษณะของครูในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะของครูด้านการเรียนการสอนแบบบูรณาการและเข้าใจในบริบทพหุวัฒนธรรมในการจัดการเรียน การสอน โดยบูรณาการความรู้สื่อ นวัตกรรมรวมถึงบริบทวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน กับ ประเด็นที่ 2 คุณลักษณะของครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นคุณลักษณะที่ช่วยประสานความเข้าใจ การยอมรับและความ ร่วมมือ ในการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างตี แนวทางที่ 5 คุณลักษณะของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ประเด็น ที่ 1 ผู้บริหารนักสร้างวิสัยทัศน์ ประเด็นที่ 2 ผู้บริหารนักแก้ปัญหา และ ประเด็นที่ 3 ผู้บริหารผู้นำไปสู่ เป้าหมาย แนวทางที่ 6 ด้านหลักสูตรที่สอดคล้องในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้ประเด็น ที่ 1 กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย สถานศึกษามีการวางแผนใน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษา และปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของ สถานศึกษา ที่มีความ หลากหลายทางวัฒนธรรม กับ ประเด็นที่ 2 การนำหลักสูตรไปใช้ ประกอบด้วย สถานศึกษามีการจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทพหุวัฒนธรรมอย่างทั่วถึงและเท่า เทียมกัน และมีการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ กับหลักสูตรท้องถิ่น แนวทางที่ 7 ด้านการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาในบริบทพหุวัฒนธรรมประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 กระบวนการสร้างเครือข่าย ประกอบด้วย การวางแผนในการจัดการศึกษาระหว่างศูนย์เครือข่าย โรงเรียน และมีการประเมินผลในการจัดการศึกษาระหว่างศูนย์ เครือข่ายโรงเรียน กับประเด็นที่ 2 เครือข่าย โรงเรียนคู่พัฒนา ประกอบด้วย เครือข่ายโรงเรียนคู่พัฒนา เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นกับ สถานศึกษาในเครือข่ายเดียวกัน อภิปรายผล 1. ผลศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทยสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า การให้โอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าเรียน เน้นให้นักเรียน ชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง มอญ ลาว ไทยพลัดถิ่น ไทยสิงขร ได้มีความเสมอภาคในการเรียนรู้ ได้รับรู้เข้าใจถึงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนที่มีความแตกต่าง แต่มีการยอมรับในความแตกต่าง นักเรียน มีความรักความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ สื่อสารเป็น และสามารถประกอบ อาชีพได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัญหาอุปสรรคการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม คือ การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม จากความแตกต่างทางด้าน ภาษา การให้การบ้านเด็กผู้ปกครองเด็กกลุ่มชาติพันธ์ไม่สามารถช่วยเด็กในเรื่องการอ่าน และการทำความ 11 เข้าใจความหมายของคำสั่งได้โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CIVID-19 ที่เด็กจะต้องเรียนอยู่ที่บ้านกับผู้ปกครอง ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า ในการบริหารสถานศึกษา บุคคลที่มีความสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายนั้น คือ ผู้บริหาร ซึ่งในการบริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบริบททางสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรมสูง ผู้บริหารจึงต้องใช้ความรู้ความสามารถ เทคนิควิธี หลักการทฤษฎีทางการบริหารในการที่จะบริหาร คน บริหารงาน บริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจึงต้องมีคุณลักษณะเป็นผู้บริหารนัก สร้างวิสัยทัศน์ ผู้บริหาร นักแก้ปัญหา และผู้บริหารผู้นำไปสู่เป้าหมาย สอดคล้องกับงานวิจัยของ จรุณี เก้าเอี้ยน (2561) ศึกษาเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมในชายแดนไทย” พบว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีหรือหลัก ธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารและเพื่อประเมินความ เหมาะสมของรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมและเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมและการบริหารจัดการโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามตามภารกิจ นอกจากนี้ ยังมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ Cortes (1996: 284) พบว่า พฤติกรรมที่ทำให้การบริหารวิชาการมีสมรรถภาพสูง เนื่องมาจากการส่งเสริมให้ครูมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นได้ส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ วิธี ให้คณะครูมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัด อบรม จัดให้ครูได้สับเปลี่ยนกันเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน จัดหาวิทยากรมาช่วยในการประชุมเชิง ปฏิบัติการ และการประชุมเกี่ยวกับปัญหาการสอน การประเมินผลและติดตามผล การสาธิตการสอน การ ปฐมนิเทศครูใหม่หาวิธีวิจารณ์งานของครูเพื่อมิให้เสียกำลังใจ เพื่อให้ครูมีเวลาสอนมากขึ้น ให้ครูมีส่วนร่วมใน การเลือกโสตทัศนูปกรณ์ จัดให้มีการอบรม ความรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษาเพิ่มเติมแก่ครูเพื่อปรับปรุงเทคนิค การสอน และการประชุมครูเพื่อประเมินผล และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิลป์ชัย สุวรรณมณี (2560) ศึกษา เรื่อง “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยองค์การกับประสิทธิผลการบริหารสถาน ศึกษาระดับ มัธยมศึกษาของรัฐในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา” ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยองค์การกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐ ในบร