Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมนอกเวลาเรียน เรื่องสถานะของสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นางสาวภาวนา พรหมประโคน

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 20 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

การสอนซ่อมเสริม มีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงต้องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน  การจัดการศึกษาควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม  ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน และแต่ละคนจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้าง การศึกษาจะช่วยให้ความสามารถของผู้เรียนปรากฏเด่นชัดขึ้น ในสังคมมนุษย์นั้นย่อมมีทั้งคนปกติและคนพิการ ในเมื่อเราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมของคนปกติได้ เราก็ไม่ควรแยกให้การศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับคนปกติเท่าที่สามารถจะทำได้ การให้การศึกษาควรมีความหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่

ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมมากเพราะเห็นว่า สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยองค์รวม การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

จากผลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยตํ่ากว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากนักเรียนโดยส่วนใหญ่ของห้องเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อนไม่มีเวลาทบทวนบทเรียนเพราะนักเรียนต้องช่วยงานบิดามารดาที่บ้าน ดังนั้นครูจึงได้จัดสอนซ่อมเสริมนอกตารางเรียนให้นักเรียนและวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้การสอนซ่อมเสริมมีประสิทธิภาพ คือ การสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนซ่อมเสริมเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ ตั้งใจ มีทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์มากขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา และเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีขึ้นและเกิดความสุขกับการเรียนสำหรับนักเรียนทุกคน