Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย วรรณภา หล้าหิบ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 27 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อประเมินผล  การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ  คิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3.1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3.2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 3 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลพรเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ภายในชั้นเรียนเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ใช้เวลาดำเนินการ จำนวน 12 ชั่วโมง ไม่นับรวมทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง รูปแบบที่ใช้ในการทดลอง  คือ  The One – Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL 2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อทดสอบแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน  30  ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ และ  4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ  ( %)  ค่าเฉลี่ย  (x)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่า t – test  แบบ  Dependent Samples

            ผลการวิจัยพบว่า  

            1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพที่คาดหวังและสภาพปัจจุบัน ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนภาษาไทย คาดหวังที่จะมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้เรียนรู้ตามความถนัด ตามความสามารถของผู้เรียน เรียนอย่างสนุก เล่นให้มีความรู้ มีทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย ทักษะในการคิด การคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหา มีจุดหมายให้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดและแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิตนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สภาพปัจจุบันพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านผลการประเมินการคิด ครูผู้สอนยังจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เน้นความรู้ ความจำ ไม่เน้นกระบวนการกลุ่ม การร่วมมือกันเรียนรู้ ไม่เน้นการฝึกคิดที่มีเหตุผล การเรียนการสอนไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ไม่ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ทำให้นักเรียนคิดไม่เป็น ทำไม่ได้ ไม่รักการอ่าน ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และครูมีความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยครูจะต้องจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL การจัดกิจกรรม   การเรียนรู้ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝนด้วยตนเอง

            2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่พัฒนาขึ้น คือ PGCPS MODEL มีองค์ประกอบหลักคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparation and Motivation Stage : P) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์  (Group Stage : G) 3) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Stage : C) 4) ขั้นการนำเสนอผลงานและการนำไปใช้ (Presentation and Application Stage : P 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summarizing and Evaluating Stage : S) ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีการนำไปหาประสิทธิภาพกลุ่มเล็ก โดยมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.54/81.48 การหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.72/84.22 และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.72/88.17 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

            3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏ ดังนี้

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PGCPS MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3.2 ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3  มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 86.79  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80 

                4. ความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PGCPS MODEL) อยู่ในระดับมาก (x= 4.50  S.D. = 0.52)