Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย นายพรพิทักษ์ ชอบใหญ่

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 28 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้
วีดีโอ การ์ตูน Animation ฃองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

                                                                                                นายพรพิทักษ์  ชอบใหญ่

           ตำแหน่งครู คศ.๒

 


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้รูปแบบแผนการสอน โดยใช้ วีดีโอ การ์ตูน Animation  2. เพื่อหาแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้รูปแบบแผนการสอโดยใช้ วีดีโอ การ์ตูน Animation 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ประชากรประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๒๘ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๘ คน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Perprsive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึก แบบสอบถาม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้
โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ฃองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีนักเรียนที่ผ่านการทดสอบ จำนวน 2๐ คน คิดเป็นร้อยละ 7๑.๔๒ และไม่ผ่านการทดสอบ จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ 2๘.๕๘ ผู้วิจัยจึงนำจำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation

          2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้
โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ฃองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าโดยรวมอยู่ใน
ระดับดี ร้อยละ
72.97 จากการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ

          3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน
Animation ฃองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยใช้รูปแบบ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน
Animation กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๘ คน

          4. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ฃองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  ๘  คน ดังนี้

                   4.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธประวัติ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย พิจารณาได้จาก
ก่อนใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้แผน โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน
Animation ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 40.62 หลังใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.75

                   4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้โดยใช้วีดีโอ การ์ตูน Animation พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสูดคือ (ข้อ 1) ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ และ (ข้อ 5) ครูได้แนะนำและเป็นที่ปรึกษาเมื่อผู้เรียนมีปัญหาอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.90 , S.D. = 0.32 ) รองลงมาคือ (ข้อ 2) ได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งของจริงและสื่อต่างๆอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.80 , S.D. = 0.42 )  และ (ข้อ 3) ได้ศึกษาค้นคว้าและสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเองและ (ข้อ 6) ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.70 , S.D. = 0.67 )