ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางอินทิรา ศิลารักษ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 29 พฤศจิกายน 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 4
ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
และระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 30 คน
ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3)
แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 7 ) แบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t–test (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
การสอนโดยยึดเนื้อหาเป็นสำคัญและพยายามสอนให้จบเนื้อหา
ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สอนให้นักเรียนจำสูตร หลักการ
และวิธีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
ส่วนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวม มีปัญหามาก 3 อันดับมากที่สุด คือ 1)
ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 2)
ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ 3) ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ
ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ความต้องการของครูใน
การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
จากความถี่ที่ครูเลือก 3 อันดับ มากที่สุด คือ 1)
ต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย 2) ต้องการ
พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในหัวข้อใหม่ๆ อย่างหลากหลาย
โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และ 3) ต้องการสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย
เหมาะสมและเพียงพอ ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 3 อันดับแรก คือ 1) ครูสอนจริงจัง
ไม่ใช้สื่อในการสอน ให้ทำแบบฝึกหัดส่งทุกครั้ง ทำให้เครียด ข้อสอบยากเกินไป 2)
ครูเข้มงวดทำให้บรรยากาศในการเรียนเครียดไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เข้าใจ และ 3) ครูสอนเร็ว ไม่น่าสนใจ ตามไม่ทัน
เรียนไม่รู้เรื่องและไม่อยากเรียน ความต้องการของนักเรียนใน การเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข 3 อันดับแรก
คือ 1) ครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ 2)
ครูควรสร้าง บรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน เช่น ร้องเพลง เล่นเกม และ 3)
ควรมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อมากกว่านี้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
ประกอบด้วย 6
องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม
5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี
5 ขั้น ดังนี้ (1) ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation) (2) ขั้นที่ 2 การสร้างองค์ความรู้จากสถานการณ์ปัญหา (Creating
knowledge) (3) ขั้นที่ 3 ขั้นจัดโครงสร้างแนวคิดใหม่และสะท้อนคิด
(Construction) (4) ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้ (Practice
and apply) และ(5) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Assessment) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
เท่ากับ
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
ปรากฏ ดังนี้
2.1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.05
2.2 นักเรียนมีคะแนนมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
2.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด