ชื่อเรื่อง การเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โดยใช้ SUANCHON Model
ผู้วิจัย กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัดการศึกษา
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 12 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
ผู้วิจัย กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัดการศึกษา
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 12 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ(The Best Safety Practice) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โดยใช้ SUANCHON Model
บทคัดย่อ
1. บทสรุป
การพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ
การบาดเจ็บ หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรและนักเรียน
2) เพื่อป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบลดปัญหาการกลั่นแกล้ง
(Bullying) ความรุนแรงทางกาย วาจา และจิตใจ
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
3) เพื่อสร้างวินัยและความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยให้ผู้เรียนและบุคลากรมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่พึงประสงค์
4) เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี
ส่งเสริมความเคารพและการดูแลซึ่งกันและกัน
5) เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ
สารเสพติด โรคติดต่อ และภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ผู้ปกครอง
ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการสร้างสถานศึกษาที่ปลอดภัย
7) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน
จึงจัดทำแผนและฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย
แผ่นดินไหว หรือภัยคุกคามอื่น ๆ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100
2)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ร้อยละ 100
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักในการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา
และการให้ข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน
2) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ชลบุรี มีแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังภัย และการให้ข้อมูลต่าง ๆ
และมีระบบระบบการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา
และการให้ข้อมูลข่าวสารที่เข้มแข็งและมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของนักเรียน
3)
นักเรียนทุกคนได้รับการปกป้องและความคุ้มครองความปลอดภัยทั้งภัยที่เกิดจากภัยการใช้
ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence)
ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูก
ละเมิดสิทธิ์ (Right) ภัยที่เกิดจากผลกระทบ
ทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
และสามารถอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัยและมีความสุข
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา
1) คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา
โดยใช้ SUANCHON Model
2) แบบประเมินการปฏิบัติงานการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา
โดยใช้ SUANCHON Model 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการพัฒนาและส่งเสริมความ
ปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model กลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนา
คือ นักเรียนโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2566 โดยมีผลสรุปการดำเนินงาน ดังนี้
1) ผลการพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย
โดยใช้รูปแบบ SUANCHON Model พบว่า ภาพรวมผลการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยรวม
4.625 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.497 ซึ่งอยู่ในระดับปฏิบัติการ มาก
โดยด้านความปลอดภัย (S : Safety) ด้านการดูแล (C : Care) และด้านความช่วยเหลือ
(H : Help) มีค่าเฉลี่ย 4.8 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด
และด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.2 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศและจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม
2. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
2.1 ความเป็นมาและสภาพขของปัญหา
การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการและทิศทางของประเทศ
การศึกษาจึงหมายถึงการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ และสังคมการสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ขึ้นอยู่กับความสุขและการมีชีวิตที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
สามารถป้องกันหรือได้รับ การป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และเจตคติที่ดี และมีทักษะในการป้องกันภัย
สามารถหรือได้รับการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และดำเนินการตาม ขั้นตอนของกฎหมาย
ดังนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่จะต้องมีแนวนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยให้เกิดขึ้น (คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา, 2567 : 7)
จากสภาพปัญหาและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เด็กและเยาวชนไทย ได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี
ซึ่งส่งผลกระทบต่อดำรงชีวิตและความปลอดภัยของเด็กได้หลากหลายรูปแบบ
ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มีการทะเลาะวิวาท ติดเกม มั่วสุมยาเสพติด
ปัญหาทางด้านชู้สาว การตั้งครรภ์ก่อน
วัยอันควร
ค่านิยมในการบริโภค ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
รวมไปถึงการประสบอุติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ
และการฆ่าตัวตาย
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560
– 2579) จึงได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของโลกยุคศตวรรษที่
21 เป็นพลวัต ที่ก่อให้เกิดความท้าทายในด้านการเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก
อันเนื่องจากการปฏิวัติ ดิจิทัล (Digital Revolution) ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้
การติดกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม
และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไป ตามกระแสโลกาภิวัตน์
เป็นผลให้เกิดการเร่งแก้ไขปัญหา ทั้งยังเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งภัยในแต่ละด้านล้วน มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับนโยบาย Quick
Win 7 วาระเร่งด่วน ข้อที่ 1 ความปลอดภัย ของผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการมองเห็นภัยที่เกิดแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
ที่เกิดขึ้นซ้ำ และส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจในหลายปีที่ผ่านมา เช่น ภัยจากการคุมคามทางเพศ
ภัยจากการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) รวมถึงภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่
ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นผลให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และสวัสดิภาพชีวิตของนักเรียน นักศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย
“เสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มี
คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ
รวมถึงการจัดสภาพแวดลอมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ
ส่งเสริมความปลอดภัยสร้างความมั่นใจใหสังคม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน
ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การป้องกัน ดูแล
ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหามีความเป็นเอกภาพ มีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบ
สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนจากสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาซึ่งสถานศึกษาบางแห่งพบปัญหามาก
แต่บางแห่งก็พบปัญหาเพียงเล็กน้อย ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดระบบความปลอดภัยที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของผู้เรียน
และการมีชีวิตที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองให้มีความปลอดภัย
และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จึงได้มีการประเมินความเสี่ยงใน สถานศึกษา
ทั้งด้านภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ
(Accident) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้วางมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษา
เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวอย่างทุกมิติรอบด้านโดยการประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการ จัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาแบบบูรณาการ
โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันซึ่งสถานศึกษาปลอดภัย
เป็นหนึ่งในวาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อม ทั้งจัดตั้ง safety
center เพื่อดูแลความปลอดภัยในโรงเรียน สำหรับระบบ MOE
Safety Center เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้หลัก Digital
Based Management เป็นรูปแบบ วิธีการ
หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ให้เกิดการ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึง การเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง
ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ของสังคม นักเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา
หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center เมื่อมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยและมีความประสงค์จะร้องทุกข์
ร้องเรียน หรือเตือนให้ทราบว่าสถานศึกษา แห่งหนึ่งกําลังเกิดภัยอย่างหนึ่งอย่างใดใน
4 กลุ่มภัย ได้แก่ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์
ภัยที่เกิด จากอุบัติเหตุ ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ และภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ
จากการนำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี และผลจากการแจ้งข้อมูลผ่านระบบ
MOE Safety Center เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 และ ปีการศึกษา 2566 ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอเป็นภัย
4 ภัย ดังนี้
ปีการศึกษา 2565
1)
ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) จำนวน 0 ราย
2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident)
จำนวน 35 ราย
3)
ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ (Right) จำนวน
0 ราย
4)
ภัยที่เกิด จากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness)
จำนวน 87 ราย เป็นโรคระบาดมนุษย์ (โรคติด เชื้อไวรัสโคโรน่า
2019)
ปีการศึกษา 2566
1)
ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) จำนวน 0 ราย
2)
ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) จำนวน 46
ราย และเสียชีวิต 1 ราย
3)
ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ (Right) จำนวน
0 ราย
4)
ภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness)
จำนวน 36 ราย เป็นโรคระบาดมนุษย์
(โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019)
จากข้อมูลสารสนเทศข้างต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
จึงได้นำนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยมา ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบภายใต้แนวคิดนวัตกรรม
“การพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ SUANCHON Model ภายใต้การนำของนายชาตรี เจริญสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ชลบุรี
2.2 แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนา
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน การเรียนรู้
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการมีชีวิตที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
รู้จักป้องกันตนเองในสภาวะคับขัน และจัดการกับชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
จึงได้ดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา ตามมาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา ได้นำรูปแบบแนวคิดนวัตกรรม
“การพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้รูปแบบ
SUANCHON Model” มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีความปลอดภัย
นำแนวคิดดังกล่าว โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย
P – Plan การวางแผน
D – Do การปฏิบัติ
C – Check การตรวจสอบ
A – Act กำรปรับปรุง พัฒนา
รูปแบบการพัฒนางานบริหารงานสถานศึกษาปลอดภัย
โดยใช้ SUANCHON Model ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ที่ประกอบด้วย
1)
ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
2)
ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
3)
ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
4)
ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
5)
ด้านการดูแล (C : Care)
6)
ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
7)
ด้านการจัดการ (O : Organization)
8)
ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
3.
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
3.1 จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
3.1.1
เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ
การบาดเจ็บ หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรและนักเรียน
3.1.2
เพื่อป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบลดปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงทางกาย วาจา และจิตใจ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
3.1.3
เพื่อสร้างวินัยและความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยให้ผู้เรียนและบุคลากรมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
และปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่พึงประสงค์
3.1.4
เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี
ส่งเสริมความเคารพและการดูแลซึ่งกันและกัน
3.1.5
เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ สารเสพติด โรคติดต่อ
และภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา
3.1.6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ผู้ปกครอง ชุมชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการสร้างสถานศึกษาที่ปลอดภัย
3.1.7
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินจัดทำแผนและฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
เช่น อัคคีภัย แผ่นดินไหว หรือภัยคุกคามอื่น ๆ
3.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
3.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.2.1.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100
3.2.1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ร้อยละ 100
3.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.2.2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักในการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา
และการให้ ข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน
3.2.2.2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
มีแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังภัย และการให้ข้อมูลต่าง ๆ
และมีระบบระบบการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา และการให้ข้อมูลข่าวสาร
ที่เข้มแข็งและมีความพร้อม ในการป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของนักเรียน