Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย พรอนันต์ ผ่านสำแดง

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 18 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านเหล่าแชแลหนองแวง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปี  ที่ 3  แบบวัดแรงจูงใจที่มีต่อการเรียน ด้วยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นนำและสร้างแรงจูงใจ (Introduction and motivation : I) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration : E ) 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป (Discussion and conclusion : D) 4) ขั้นอธิบายขยายความรู้ (Explanation : E) 5ขั้นประเมินผลผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Evaluation : E)  หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด