Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง

ผู้วิจัย นางกัลยา คำมณี

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 19 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

1.1 สภาพบริบท/สภาพปัญหา
          สถาบันหลักของชาติประกอบด้วยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชาติมาตั้งแต่อดีต แต่ปัจจุบันถูกกระแสทางสังคมออนไลน์พยายามสร้างเรื่องบิดเบือนเกี่ยวกับสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการป้อนข้อมูลและความคิดผิดๆ ให้แก่เด็กและเยาวชน ให้คิดบ่อนทำลายชาติและล้มล้างสถาบันแบบ  “ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง”   ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   ขาดความรู้และจิตสำนึกที่ถูกต้องทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันตนเองในการดำรงชีวิต   จึงตกเป็นเครื่องมือให้ทำผิดกฎหมายได้ง่าย

          โรงเรียนในเมืองเล็งเห็นความสำคัญในการร่วมกันปลูกฝังให้นักเรียนซึ่งเป็นเด็กและเป็นเยาวชนของชาติ    เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ความภาคภูมิใจ รัก หวงแหนสถาบันหลักของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีพฤติกรรมแสดงออกถึงการมีความรู้ความเข้าใจ   และมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง   จึงน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 มาสู่การปฏิบัติ โดยการพัฒนารูปแบบการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตต่อไป

1.2 วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล มีดังนี้

P  (Plan) วางแผน สร้างความตระหนักให้เกิดการรับรู้และมีทัศนคติที่ถูกต้อง  เป็นการเตรียม

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผ่านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความรักในสถาบันหลักของชาติ

D (Do) ดำเนินการ พัฒนารูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรม

ราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  3 แบบคือ

    1.ใช้ตัวแบบสิ่งเร้า  ด้วยการใช้สื่อและการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนัก

    2.ใช้ตัวแบบบุคคล เป็นต้นแบบการปฏิบัติ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง

    3.ใช้ตัวแบบการจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างให้เกิดนิสัย

โดยมีกระบวนการดำเนินงานดังนี้

 

1) ศึกษาตัวชี้วัดและวิเคราะห์ คุณลักษณะพฤติกรรมของนักเรียนด้านการมีทัศนคติที่

ถูกต้องต่อบ้านเมือง ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองในแต่ละระดับ 

ใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่         

   1.1 มีความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง

   1.2 ยึดมั่นในศาสนา

   1.3 มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์

   1.4 มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตนเอง

2) ศึกษาสภาพปัจจุบันคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความเป็น

ไทย และการมีจิตอาสาของนักเรียนซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติ

3) ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  ดังนี้

   3.1 ปรับปรุงหลักสูตรตามบริบทของโรงเรียน

   3.2 จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่แสดงถึงความรักในสถาบันหลักของชาติ

   3.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือโครงการที่ให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความรักในสถาบันหลักของ

ชาติ   โดยยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   และมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ได้แก่

              - โครงการ/กิจกรรมวันสำคัญของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์

              - โครงการ/กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา

              - โครงการ/กิจกรรมประชาธิปไตย

              - จัดเนื้อหาสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

              - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ โดยเน้น

กระบวนการวิเคราะห์

              - โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงความรักชาติและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

              - โครงการ/กิจกรรมจิตอาสา

C (Check) กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ

          1) นิเทศ กำกับ ติดตามการนำรูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู

          2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง 

A (Act) ปรับปรุงและพัฒนา 

1)ประเมิน วิเคราะห์ผลการนำรูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระ

บรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู

          2)  สรุป และรายงาน ผลการใช้รูปแบบการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  ตามเป้าหมายของการพัฒนาในระดับชั้นปฐมวัย ระดับชั้น ป.1-ป.3 และระดับชั้น ป.4 - ป.6

3)ปรับปรุงรูปแบบเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่

ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมืองต่อไป

ผลการใช้นวัตกรรมการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรม

ราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน

ปรากฏผล  ดังนี้

1.ด้านความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออก  ร้อยละ 95.75  อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

2. องค์ประกอบด้านการยึดมั่นในศาสนา  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออก  ร้อยละ 93.66   อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

3.องค์ประกอบด้านการมั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออก  ร้อยละ 100   อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

4.องค์ประกอบด้านการมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออก  ร้อยละ 92.66   อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

จากผลการใช้ผลการใช้นวัตกรรมการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรม

ราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน  พบว่า

เชิงปริมาณ

ด้านผู้เรียน  
          1. ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

2.ผู้เรียนมีคะแนนระดับคุณภาพด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองสูงกว่าปีที่ผ่านมาแต่ยังอยู่ในระดับยอดเยี่ยมเช่นกัน

 

          ด้านครู

          1.ครูร้อยละ100 เป็นต้นแบบการปฏิบัติในการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ใน 4 องค์ประกอบ 21กิจกรรม

          2.ครูร้อยละ100ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการกิจกรรม

การเรียนรู้ในการประชุม ติดตามผลการดำเนินงาน และกิจกรรม PLC

          ด้านสถานศึกษา

 -มีนวัตกรรมในการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

ของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง 

        เชิงคุณภาพ

          ด้านผู้เรียน
           1.ระดับชั้นปฐมวัย : ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงถึงความเข้าใจต่อสถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบัน พระมหากษัตริย์ ปฏิบัติพฤติกรรมเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ81.82 และต้องมีครูหรือเพื่อคอยชี้แนะ 4 คน คิดเป็นร้อยละ18.18 ภาพรวมอยู่ในระดับดี

           2.ระดับชั้นประถมศึกษา : ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงออกถึงการมีความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีต่อ ชาติบ้านเมือง มีความยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความรักเอื้ออาทรต่อบุคคลในครอบครัว และชุมชนของตนเอง ภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม

          ด้านครู

           -ครูขยายผลการใช้นวัตกรรมในการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องของนักเรียนด้านอื่นๆ

          ด้านสถานศึกษา

          -รายงานผลการใช้นวัตกรรมการปลูกฝังด้านการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ตามพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  ของนักเรียนโรงเรียนในเมือง  และเผยแพร่นวัตกรรมผ่านทางเว็ปไซต์ของโรงเรียน