ชื่อเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย อรชา เทพสุวรรณ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 25 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง
ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ โดยใช้รูปแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 ด้วยเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง วิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ โดยใช้รูปแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์
โดยใช้รูปแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว
วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสะโบ๊ะที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 25 คน ได้จากการสุ่มโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มเครื่องมือที่ใช้การวิจัย
ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ จำนวน 7 แผน แต่ละแผนใช้เวลาสอน 1 ชั่วโมง
รวม 7 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ แบบ 4 ตัวเลือก และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ
4MAT เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน (Rating Scale) 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้สอน และด้านเนื้อหา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยากง่าย
ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง และค่า t- test แบบ dependentผลการศึกษาพบว่า 1) การเรียนการสอนแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
87.89/ 93.60 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบ
4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์
มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4MAT อยู่ในระดับมากที่สุด
ได้แก่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
.40 (= 4.56, S.D. = .40)
คำสำคัญ
: การเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม, การจัดการเรียน การสอนโดยใช้
รูปแบบ 4MAT, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5
Abstract
The purposes of this research were 1) To
compare the ability to study social studies. Religion and culture on geographic
regions Before organizing teaching using the 4MAT format for Grade 5 students
with a criterion of 80/80 2) to compare the ability to study social studies.
Religion and culture on geographic regions Before and after teaching towards
the learning using the 4MAT format and 3) to study the satisfaction of Grade 5
students with teaching and learning using the 4MAT format. This research is a
quasi-experimental research. single group study Measure the results before and
after the experiment. The sample group includes students at Ban Thungsaboh
School who are studying in the first semester of the
academic year 2023, 1 room, total number of students 25, obtained by random
sampling using the school as the random unit The research tools were: 1) a teaching and learning plan using the
4MAT model, social studies learning subject group Religion and Culture on the
topic of Geographic Regions, 7 plans, each plan takes 1 hour to teach, total 7
hours. 2) Achievement Test for Social Studies, Religion and Culture, on the
topic of Geographic Regions, 4 options, 50 questions, and 3) Questionnaire on
satisfaction with teaching and learning using the 4MAT format. It is a 3-option
rating scale questionnaire with 10 questions, divided into 2 areas: the teacher
side and the content side. Statistics used in data analysis include mean,
standard deviation. Difficulty value Discriminant power Reliability and t-test
dependent statistics. The
results of the study found that 1) students who studied with 4MAT learning
activities in the social studies, religion and culture subject group, geography
subject group. The developed efficiency was 87.89/ 93.60, higher than the set
criteria of 80/80 2) Mathayom 5 students who studied with 4MAT learning
activities, social studies, religion and culture learning subject group,
geography subject. The post-study scores were significantly higher than the
pre-study scores at the .01 level. 3) Grade 5 students' satisfaction with
teaching and learning using the 4MAT format was at the highest level. namely,
having a mean of 4.56 and a standard deviation of .40. (= 4.56, S.D. = .40)
Keywords : Academic achievement
in social studies, religion and culture Organizing teaching and learning using
the 4MAT, grade 5 students.