ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
ผู้วิจัย นางสุชาดา ชูสุคนธ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 4 มกราคม 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง เสียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 (2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง เสียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ SUCHADA Model พื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง เสียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 โรงเรียนอุดมวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตามความสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มที่ศึกษาที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นเอง
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.949 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
เสียง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.957 4) แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ 0.785 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
(t-test
for dependent sample, t-test for one samples )
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้
SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ
ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจและความมุ่งมั่น (Stimulation: S)
2)
ขั้นทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ่ง (Understand the problem: U) 3)
ขั้นอธิบายแนวคิดหลักอย่างมั่นคง (Clarify the concept: C) 4)
ขั้นลงมือปฏิบัติด้วยความอดทนและพยายาม (Hands-on practice: H) 5) ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไม่ย่อท้อ (Application: A)
6)
ขั้นอภิปรายและแบ่งปันประสบการณ์การเอาชนะอุปสรรค (Discussion: D) และ 7) ขั้นประเมินผลและสรุปบทเรียนแห่งความสำเร็จ (Assessment &
Conclusion: A)
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง เสียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5/2 พบว่า
2.1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 หลังการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ
60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 (t= 27.16; df = 6; p = 0.00)
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ร่วมกับการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ด้วยกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง
เสียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, S.D. = 0.23)