Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

ผู้วิจัย ดิเรก ใจดี

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 12 มกราคม 2568

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้อง ระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75  5) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติหลังเรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน ซึ่งได้ มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน

       ผลการวิจัยพบว่า

           1)  คุณภาพของชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

           2)  ประสิทธิภาพของชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (E1) เท่ากับ 82.56 และ (E2) เท่ากับ 85.06 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนโดยใช้ชุดฝึกมีค่าเท่ากับ 0.7825 หรือร้อยละ 78.25 

           3)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบ      จุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

           4)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  ที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบ      จุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่า หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           5)  คะแนนทักษะการปฏิบัติทางการเรียนของผู้เรียน  ที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อ ขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์  โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75  พบว่าหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05 

           6)  ความพึงพอใจของผู้เรียน  ที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์  โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด