Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

ผู้วิจัย สันติ พันธ์พุฒ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 14 มกราคม 2568

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

The Development of the Learning Management Model based    on the Philosophy of Sufficiency Economy for Increasing the Inquisitive Characteristics of the Students of Tessaban 5 School (Kradatthaianukroc)

 

สันติ พันธ์พุฒ

โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

Santi Phanphut

Tessaban 5 School (Kradartthaianukroc)

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)  กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู จำนวน 32 คน นักเรียน จำนวน 169 คน ผลการวิจัยพบว่า       1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ควรเร่งพัฒนางานวิชาการโรงเรียนก่อนอย่างอื่น เพราะต้องการให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนใช้รูปแบบ "3’PCT Model" ประกอบด้วย การวางแผน การมีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหา ความสามารถในการปฏิบัติ และถ่ายโยงความรู้ 3) การทดลองใช้ โดยการจัดอบรม พบว่า การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.75 และ 17.34 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน พบว่ามีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01  4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า (1) ประเมินความรู้ความเข้าใจ  การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ประเมินทักษะความสามารถในการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3) ระดับพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ (4) คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 5) การถอดบทเรียน นักเรียนควรได้รับการจัดการเรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย           มุ่งดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ โดยครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีกับนักเรียน

 

คำสำคัญ : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้

 

Abstract

The aim of this research was to develop the learning management based on the philosophy of sufficiency economy for increasing the inquisitive characteristics of the students of Tessaban 5 School (Kradartthaianukroc). The target group consisted of 32 teachers and 169 students. The results of the research presented as follows. 1) According the basic information and the need conditions, the academic work of the school should be speedy developed before other work in order to improve the students based on the philosophy of sufficiency economy and to increase the students’ inquisitive characteristics. 2) The learning management model based on the philosophy of sufficiency economy for increasing the inquisitive characteristics of the students used the 3’PCT Model consisting of the components which were Plans, Cooperation, Solutions, Capability of Practice, and Transfer of Knowledge. 3) The test of the training found that the pre and the post results were at the averages of 7.75 and 17.34 respectively and the comparison of the points was different with statistical significance of .01. 4) The estimation and development were as follows. (1) The estimation of understanding showed that the learning management based on the philosophy of sufficiency economy for increasing the inquisitive characteristics of the students was at a high average level. (2) The estimation of practical skills was at a high average level. (3) The expressions of the students’ behavior based on the philosophy of sufficiency economy was at a high average level. (4) The inquisitive characteristics of the students was at a high average level. (5) The lesson learned visualizing of the model presented that the students should be provided with various sources of knowledge that emphasized on the philosophy of sufficiency economy according to the students’ needs and the teachers were supposed to behave well in order to be the good examples for the students.

 

Keywords: Philosophy of Sufficiency Economy, Inquisitive Characteristics