Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์

ผู้วิจัย ศิริวรรณ เมืองเหลือ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 24 มกราคม 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียน หัวดงรัฐชนูปถัมภ์  2) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  3) เพื่อทดลองใช้ชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)   ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  และ 4) เพื่อประเมินชุดการสอนรูปแบบ 4MAT   บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  ปีการศึกษา 2566  จำนวน  33  คน  โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  จำนวน  ฉบับ  มีผู้เชียวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ  จำนวน  7  คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบที (t-test Dependent) ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  การวิจัยปรากฏผล  ดังนี้

1.  การศึกษาสภาพและปัญหาการผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  พบว่า  ผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3             ปีการศึกษา 2565  พบว่า  มีคะแนนเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ  22.14  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ  8.72  ซึ่งต่ำกว่าระดับที่ตั้งโรงเรียน  ระดับจังหวัด  ระดับสังกัด  ระดับภาค  และระดับประเทศ  ทั้งนี้   ยังพบว่า  มาตรฐานการเรียนรู้ที่โรงเรียนควรเร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ  ได้แก่  มาตรฐาน  ค 1.1  เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการ ของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการและนำไปใช้  มาตรฐาน ค 1.2  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรมและนำไปใช้  มาตรฐาน ค 1.3  ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้  มาตรฐาน ค 2.2  เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต  สมบัติของรูปเรขาคณิต  ความสัมพันธ์ระหว่าง        รูปเรขาคณิตและทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้  และมาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ  และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

       2.  การพัฒนาชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่  3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  พบว่า  ดำเนินการสร้างชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการ               ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ       ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  จำนวน  4  ชุด  ได้แก่  ชุดที่ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมสายน้ำเรือยาว  ชุดที่ 2  เรือยาวไกรทอง  ชุดที่ 3  เรือยาวจำลองไกรทอง  ชุดที่ 4           เรือยาวจำลองไกรทองสำหรับเยาวชน  โดยชุดการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญ  ดังนี้

    2.1  ส่วนหน้า  ได้แก่  ปก  คำนำ  สารบัญ

    2.2  ส่วนกลาง : เนื้อหาหรือคู่มือครู  ได้แก่  1) คำชี้แจง  2) บทบาทของครู  3) บทบาทนักเรียน  4) การจัดชั้นเรียน  5) แผนการสอน/ชื่อหน่วย  สาระการเรียนรู้  ตัวบ่งชี้ในการเรียนรู้  รูปแบบการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้  เวลาที่ใช้  6) การสรุปบทเรียน 

    2.3  ส่วนหลัง  ได้แก่  1) เนื้อหาสื่อการเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง  จุลสาร  youtube  บัตรคำสั่ง  สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้  แบบฝึกปฏิบัติ  แบบประเมินผล

3.   การทดลองใช้ชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  พบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีผลการเรียนรู้หลังเรียนด้วยชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์   สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

4. การประเมินผลการใช้ชุดการสอนรูปแบบ 4MAT บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น  สาระ              การเรียนรู้คณิตศาสตร์  เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)            ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์  พบว่า  การวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  ผลการเรียนรู้ของนักเรียน              มีค่า E.I. มากกว่า 0.50  ผ่านเกณฑ์ประสิทธิผลที่กำหนดไว้