Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยนวัตกรรม LPK Model ขับเคลื่อนโดยวงจรคุณภาพ PDCA

ผู้วิจัย นายทศพร สมพันธ์

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

บทคัดย่อ

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยนวัตกรรม LPK Model ขับเคลื่อนโดยวงจรคุณภาพ  PDCA  มีวัตถุประสงค์เพืื่อ 1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น  2 เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้น  3 เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  ให้มีประสิทธิภาพ  วิธีการดำเนินงาน ขั้นการวางแผน (Plan) 1. ดำเนินการประชุมวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของปีการศึกษา  2566  เพื่อระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา 2. สร้างความตระหนักใหhครูและนักเรียนให้เห็นความสำคัญของการเรียน  และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3. ประสานเครือข่ายผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่อง  สร้างความสัมพันธ์ มีการประชุมผู้ปกครอง  ติดตาม ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ เพื่อใหhผูhปกครองให้ความร่วมมือในการดำเนินงานที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น 4.กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนระดมทรัพยากรบุคคล  สื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์ แนวทางดำเนินงานและงบประมาณ  มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  5. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและปฏิทินการดำเนินการ ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do1. กิจกรรมการเรียนเข้มข้น (L = Leaning2. กิจกรรมเสริมเติมเต็ม (P = Perfect3. กิจกรรม Pre - Test (K = Knowledge4. เรียนดี  มีความสุข ขั้นการตรวจสอบ (Check) ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นระยะ  นิเทศ  กำกับ  ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์  การจัดการเรียนรู้ สะท้อนผล  ให้กำลังใจ  และชื่นชมความสำเร็จ  ขั้นการปรับปรุง (Actionสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สรุปผลการทดสอบระดับชาติขึ้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการดำเนินงาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้น ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ