ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านร้อยกรองแบบทำนองเสนาะโดยใช้คาราโอเกะ
ผู้วิจัย สุวิมล ปานฟอง
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 20 กุมภาพันธ์ 2568
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านร้อยกรองแบบทำนองเสนาะโดยใช้คาราโอเกะ
ในบทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง
ตอนกำเนิดพระสังข์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสุวิมล ปานฟอง
สถานศึกษา โรงเรียนแม่ฮ่างวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง
เขต 1
ปีการศึกษา 2568
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการอ่านร้อยกรองแบบทำนองเสนาะโดยใช้คาราโอเกะ
ในบทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านบทร้อยกรองแบบทำนองเสนาะ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 ที่เรียนโดยใช้สื่อคาราโอเกะ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้สื่อคาราโอเกะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนแม่ฮ่างวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวนนักเรียน 14 คน
ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2567 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่ฮ่างวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง
เขต 1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25567 จำนวน 14 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แผนการสอนการจัดการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง
บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์ เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง จำนวน 1 แผน
2) สื่อคาราโอเกะการอ่านทำนองเสนาะ
เรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หลังเวลาเรียน ใช้ทดลองสอนจริงในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 3) แบบบันทึกการอ่านทำนองเสนาะ
4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกสื่อคาราโอเกะ
สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบสมมติฐานด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้
t – test for dependent samples
ผลการศึกษาพบว่า
ประสิทธิภาพสื่อคาราโอเกะการอ่านทำนองเสนาะ
เรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 89.84/95.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80ที่ตั้งไว้ และทักษะการอ่านบทร้อยกรองแบบทำนองเสนาะของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อคาราโอเกะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อคาราโอเกะในระดับดีมาก โดยค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ
4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ( µ = 4.56, σ
= 0.54)