ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้บูรณาการด้วยการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รูปแบบ GBL 5 STEP เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม “MY ENG GAME”
ผู้วิจัย นางสาวอมรพันธ์ ฉลาดเฉลียว
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 2 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีการพัฒนาได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสังคมโลก
ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศมากที่สุดหรือเรียกว่าเป็นภาษาสากล
(เดวิด แกรดดอล. 2006)
ได้วิจัยเรื่อง English Next. กล่าวถึงแนวโน้มของภาษาอังกฤษว่า
นับจากนี้ไปจำนวนผู้เรียนภาษาอังกฤษทั่วโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนบนโลกนี้ต่างตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในสังคมโลกยุคใหม่
ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของไทยด้านภาษาอังกฤษในปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่พยายามยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษครั้งใหญ่ของประเทศโดยการปรับปรุงการสอนสาระวิชาภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้นให้เป็นการเรียนแบบเข้มข้น
พร้อมทั้งวางมาตรฐานหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาอังกฤษและเกณฑ์ของครูผู้สอนรวมถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระดับทุกประเภท
(กระทรวงศึกษาธิการ. 2562) จากเหตุผลข้างต้นครูผู้สอนในทุกระดับจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนมากที่สุด
การจัดการเรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมารวมถึงปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทย ประสบปัญหาต่างๆ มากมายที่ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารด้วยการใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติได้
อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการตั้งแต่ตัวหลักสูตร ข้อจำกัดของความพร้อมและการเข้าถึงสื่อ
และเทคโนโลยีต่างๆของสถานศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งประการคือ
รูปแบบ เทคนิค หรือกระบวนจัดการเรียนการสอนของครูส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ
และไม่สามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ
ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ (มร.แอนดรูว์ กลาส.2563) กล่าวถึงปัญหาด้านภาษาอังกฤษของไทยเกิดจาก 4 ประเด็น
คือ 1. ค่าเฉลี่ยทักษะภาษาอังกฤษของครู
ภาษาอังกฤษระดับชั้นประถม-มัธยมศึกษามากกว่า 75 % อยู่ในระดับ
A2 หรือต่ำกว่าพื้นฐาน 2.ปัญหาทักษะภาษาอังกฤษในภาพรวมของประเทศไทย
สะท้อนอยู่ในปัญหาความไม่เท่าเทียมในประเทศไทย 3.การเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษในประเทศไทย ส่วนมากยังใช้การเรียนการสอนแบบยึดตามหลักไวยากรณ์ การแปล
และท่องจำมากกว่าสื่อสารได้ในชีวิตจริง และ 4. ระบบการวัดผลทักษะภาษา
ยังคงมุ่งเน้นไปที่การใช้ภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์ การอ่าน
ซึ่งล้วนแต่ไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
เกมการศึกษาเป็นหนึ่งในเครื่องมือการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ
จากการเล่นและการลงมือทำและสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ
เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีทักษะการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี
ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นพื้นฐานการศึกษา รู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล
และ เกิดความคิดรวบยอด เกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท
และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ ระยะ มีกฎเกณฑ์ กติกาง่าย ๆ
เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ได้แก่ การจับคู่ การต่อภาพให้สมบูรณ์
การวางภาพ ต่อปลาย (โดมิโน) การเรียงลำดับ การจัดหมวดหมู่
การศึกษารายละเอียดของภาพ (ลอตโต้) การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)
เกมพื้นฐานการบวก และการหาความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด
จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเมื่อเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะทางภาษาอังกฤษพบว่าเด็กมีปัญหา เช่น ขาดทักษะการสะกดคำ
อ่านคำศัพท์ไม่ได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว
ครูผู้สอนจึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้วยการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) รูปแบบ GBL 5 STEP เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม “MY ENG GAME” ให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ มีความสนใจ สนุกสนานและมีความสุขในการเรียนรู้
ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้มากขึ้น