Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15

ผู้วิจัย นายสัญญา บุญหยาด

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 3 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากร            ตั้งตรงจิตร 15 2) สร้างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในโดย บูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากร    ตั้งตรงจิตร 15 ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง            2) สัมภาษณ์ครูและผู้ปกครอง และ 3) จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน    9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ยกร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากร    ตั้งตรงจิตร 15 2) ตรวจสอบร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 โดยจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน      ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) ทดลองใช้ร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 72 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงที่โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15      การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติพื้นฐานหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15        ซึ่งดำเนินการโดยสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จำนวน 80 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 พบว่า มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมายของรูปแบบ   องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ และองค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์

2. การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 ภาพรวม พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ดังต่อไปนี้ ทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด และทักษะการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด

3. การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 พบว่า มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการนำรูปแบบการนิเทศภายในโดยบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 อยู่ในระดับมากที่สุด