ชื่อเรื่อง รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน PKCAE ICT+ (Plus)+Coaching Model ที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ผู้วิจัย อรนุช ไตยราช
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 19 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน PKCAE ICT+ (Plus)+Coaching Model ที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานและ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการ ศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ทางสถิติ ค่าฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการ ศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันปัญหาที่ทำให้นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติต่ำกว่าร้อยละ 50 มี 4 ด้านคือ ด้านสถานศึกษา ด้านครู ด้านนักเรียน และด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน และความต้องการทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผล คือ ต้องการแนวทางหรือรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ที่นำไปสู่การนิเทศให้สอด คล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ 2) ได้รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมประกอบด้วย (1)การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและวางแผนพัฒนา (Analyze to Plan : P) (2) การสร้างองค์ความรู้และตระหนักในวิชาชีพ (Knowledge and professional awareness : K) (3) การร่วมมือร่วมใจดำเนินการนิเทศแบบโค้ช (Cooperation to Facilitative Coaching : C) (4) เชื่อมโยง ชื่นชม เสริม แรง (Attach to Admire : A) และ (5) ประเมินผลเพื่อพัฒนา เผยแพร่ (Evaluation for development to share) 3) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ ได้แก่ (1) ครู มีการปรับเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีการสร้าง/ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัด มีชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนานวัตกรรม ผู้บริหารและครูนำความรู้/หลักการไปใช้ในการยกระดับผลการทดสอบ O-NET (2) นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ดีขึ้น มีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดเรียนรู้ ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และคุณภาพการเรียนรู้ (3) สถานศึกษามีสารสนเทศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติสูงขึ้น มีแผนยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ สถานศึกษามีเครือข่ายในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผู้เรียน 4) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของเขตพื้นที่อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นข้อรูปแบบ/กระบวนการนิเทศฯ ตรงกับวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด
ที่อยู่อ้างอิง (URL) : https://publish.vichakan.net/show/1093
จำนวนการเข้าชม : 27 ครั้ง
จำนวนการเข้าชม : 27 ครั้ง