Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลของการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบด้านการส่งงานรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2โรงเรียนชุมชนบ้านโพนสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้วิจัย นางชญาดา ชาวสวน

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 31 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

พฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบด้านการส่งงาน  ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาความรับผิดชอบด้านงานที่ได้รับมอบหมาย  โดยใช้การเสริมแรงบวกด้วยเบี้ยอรรถกร การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า  เพื่อศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2567  โรงเรียนชุมชนบ้านโพนสา  อำเภอท่าบ่อ  จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  1  จำนวน  12  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมความตั้งใจในการทำงาน แบบบันทึกความถี่พฤติกรรมการทำงานเสร็จและส่งงานตามกำหนด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน  ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาภาษาไทยมากขึ้นหลังการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรและมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

ผลของการศึกษาในครั้งนี้ เป็นประโยชน์แก่ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในการให้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรไปใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายแก่นักเรียน  นอกจากนี้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นสามารถนำผลจากการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนในเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต