ชื่อเรื่อง ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ผู้วิจัย นางสาววิไลพร ฆ้องกบ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายของนักเรียนที่มีภาวะออทิสติก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.แบบบันทึกพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน
แบบบันทึกความฉลาดทางอารมณ์ใช้สำหรับบันทึกพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนก่อนและหลังทำกิจกรรมของเด็กอายุ
6-11ปี แบบบันทึกหลังการสอน 2.เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ
ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างแผนการจัดกิจกรรม ทั้งหมด 6 กิจกรรม
การจัดกิจกรรมใช้เวลาทั้งหมด 18 คาบเรียน คาบเรียนละ 40
นาที
การใช้ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
จากก่อนการใช้ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หลังการใช้ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ที่ประกอบด้วย พฤติกรรมขว้างปาสิ่งของ
ทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกายผู้อื่น วาจาหยาบคาย ก่อกวนขณะทำงาน ในระยะที่ 1 A(1) ระยะเส้นฐาน
เป็นระยะที่ผู้วิจัยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมนักเรียนกรณีศึกษาโดบที่ไม่ได้รับการปรับพฤติกรรมใดๆซึ่งระยะนี้เป็นระยะทีมีค่าเฉลี่ยความถี่ของ
พฤติกรรมขว้างปาสิ่งของ อยู่ที่ 5.6 ครั้ง/คาบ
ทำลายทรัพย์สิน อยู่ที่ 6.2 ครั้ง/คาบ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
อยู่ที่ 6.4 ครั้ง/คาบ วาจาหยาบคาย อยู่ที่ 3.8 ครั้ง/คาบ และก่อกวนขณะทำงาน อยู่ที่ 5 ครั้ง/คาบ
ในระยะที่ 2 A(2) ระยะการปรับพฤติกรรมโดยใช้ของโปรแกรมการฝึกทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมในนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ค่าฉลี่ยความถี่ พฤติกรรมขว้างปาสิ่งของ อยู่ที่ 4 ครั้ง/คาบ
ทำลายทรัพย์สิน อยู่ที่ 5 ครั้ง/คาบ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
อยู่ที่ 5 ครั้ง/คาบ วาจาหยาบคาย อยู่ที่ 4 ครั้ง/คาบ และก่อกวนขณะทำงาน อยู่ที่ 5 ครั้ง/คาบ
ระยะที่ 3 A(2) ระยะหยุดยั้ง
เป็นระยะที่ผู้วิจัยยุติการปรับพฤติกรรมโดยกลับไปใช้กระบวนการเช่นเดียวกับระยะที่ 1
ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่มีค่าเฉลี่ยความถี่ พฤติกรรมขว้างปาสิ่งของ
อยู่ที่ 3.6 ครั้ง/คาบ ทำลายทรัพย์สิน อยู่ที่ 4 ครั้ง/คาบ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น อยู่ที่ 2.8 ครั้ง/คาบ
วาจาหยาบคาย อยู่ที่ 2 ครั้ง/คาบ และก่อกวนขณะทำงาน อยู่ที่ 2.6
ครั้ง/คาบ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมก้าวร้าวของกรณีศึกษาลดลงจากทุกระยะ