Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี

ผู้วิจัย ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อพัฒนา เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4  ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี โดยการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร  และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ (2) พัฒนารูปแบบโดยการยกร่างและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ  โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน  (3) ทดลองใช้รูปแบบกับโรงเรียนจำนวน  6  โรงเรียน ในปีการศึกษา  2565  และนำไปใช้จริงจำนวน 22 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2566 (4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสรุปข้อมูล โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  พบว่ากระบวนการ วิธีดำเนินการพัฒนาครู กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนมีความ แตกต่างกัน มีทั้งปัจจัยที่เอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาครู การนิเทศ โดยยังขาดความต่อเนื่องและความเป็นเอกภาพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคประเทศไทย 4.0 โลกในยุคดิจิทัลและการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย มีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  ยังมีความต้องการให้มีการพัฒนาระบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) นิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายความร่วมมือของสหวิทยาเขต ให้เกิดความร่วมมือ การส่งเสริม สนับสนุน เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโรงเรียน ในสหวิทยาเขต เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน

2. ผลพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  1) กลไกการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System)  2) บทบาท หน้าที่ของกลไก 3) วิธีการดำเนินงานของกลไก 4) กิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลไก และ 5) ผลผลิต ซึ่งได้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.71 , S.D. = 0.57)

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  พบว่า สหวิทยาเขต นำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ มีผลทำให้เกิดรูปแบบและผลการใช้ตามรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ดังนี้ 1) สหวิทยาเขตพริบพรี ใช้รูปแบบ PRIBPREE  MODEL 2) สหวิทยาเขตพระนครคีรี ใช้รูปแบบ KIRI  MODEL 3) สหวิทยาเขตรามราชนิเวศน์ ใช้รูปแบบ  RAMNIWECH  MODEL และ4) สหวิทยาเขตราชนิเวศน์มฤคทายวัน ใช้รูปแบบ MARUEK  MODEL โดยมีผลการดำเนินการตามองค์ประกอบ  ได้แก่ (1) กลไกการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา  (Coaching and Mentoring System) พบว่า มีกลไกระดับสถานศึกษา กลไกระดับสหวิทยาเขต กลไกระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี (2) บทบาท หน้าที่ของกลไก  พบว่า  มีบทบาท หน้าที่ของกลไกระดับสถานศึกษา บทบาท หน้าที่ของกลไกสหวิทยาเขต บทบาทหน้าที่ของกลไกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี (3) วิธีการดำเนินงานของกลไก  พบว่า มีการสร้างการรับรู้ให้กับสถานศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยกำหนดนโยบายการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาระดับสถานศึกษา ระดับสหวิทยาเขต และระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี (4) กิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลไก พบว่า มีกิจกรรมพัฒนาครู  กิจกรรมนิเทศติดตาม ด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา กิจกรรมการถอดบทเรียน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมยกย่อง เชิดชูเกียรติ  (5) ผลผลิต พบว่า พบว่า คุณภาพครู คุณภาพนักเรียน คุณภาพองค์กร  และคุณภาพชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.66 , S.D. = 0.64)

4. ผลประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring System) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี  พบว่า โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้  ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.70 , S.D. = 0.50)

 

คำสำคัญ         : 1. รูปแบบ  2. การพัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring)                                                                                               

                   3. สหวิทยาเขตเป็นฐาน 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี