Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อแขนของนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนอำเภอเสริมงาม 1 โดยการใช้รอกคู่เหนือศีรษะร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง

ผู้วิจัย นางสาวอรทัย อามาตย์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 9 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง           การแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อแขนของนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนอำเภอเสริมงาม 1

โดยการใช้รอกคู่เหนือศีรษะร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง

ชื่อผู้วิจัย          นางสาวอรทัย อามาตย์  ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย

ปีการศึกษา      2567
สถานศึกษา     
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาทักษะกล้ามเนื้อแขนของนักเรียนออทิสติกหลังการใช้รอกคู่เหนือศีรษะร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นนักเรียนออทิสติกที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง เพศชาย อายุ 13 ปี จำนวน 1 คน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลออทิสติก อยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อมในห้องเรียนอำเภอเสริมงาม 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินการใช้รอกคู่เหนือศีรษะ 3) รอกคู่เหนือศีรษะ 4) สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า

          นักเรียนมีระยะเวลาเฉลี่ยในการยกแขนทั้งสองข้าง ขึ้น-ลงของนักเรียนใช้ระยะเวลาในการยกแขนทั้งสองข้างขึ้น-ลงนานขึ้นหลังการใช้ที่รอกคู่เหนือศีรษะร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองจาก 1 ครั้ง เป็น 5 ครั้ง ส่งผลให้นักเรียนสามารถยกแขนทั้งสองข้างขึ้น-ลงได้นานขึ้น

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ  รอกคู่เหนือศีรษะ สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง ออทิสติก